แผ่นหมุนดวงจันทร์: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้หาตำแหน่ง รูปร่าง หรือเวลาขึ้นตกในวันทางจันทรคติและเวลาต่างๆ หรือดูดวงจันทร์ว่า เป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค่าได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดและนำไปประกอบเองได้ง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สนใจดูดาวสมัครเล่น เด็กๆ นักเรียนที่นำไปศึกษา หรือคุณครูที่นาไปสอนเรื่องข้างขึ้นข้างแรมให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทาให้ผู้คนสนใจดาราศาสตร์มากขึ้น และมีความสนุกกับอวกาศอันลึกลับ ผู้พัฒนาผลงาน https://lunarwheel.wixsite.com/lunarwheel |
“วันหนึ่ง ผู้จัดทำได้เรียนเรื่องกำรคำนวณเวลาขึ้นตกของดวงจันทร์และการดูข้างขึ้นข้างแรมจากในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดความไม่เข้าใจเลย จึงนำมำเขียนเป็นแผนภาพในกระดาษและออกแบบให้เป็นแผนผังที่หมุนได้ ทำให้ได้แรงบันดาลใจในการพัฒนำต่อยอดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หัวข้อ ‘แผนที่ดวงจันทร์’ นำมาเสนอในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ Young Scientist Competition: YSC ในปี 2562 สาขาโครงงานทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์”
“วันหนึ่ง ผู้จัดทำได้เรียนเรื่องกำรคำนวณเวลาขึ้นตกของดวงจันทร์และการดูข้างขึ้นข้างแรมจากในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดความไม่เข้าใจเลย จึงนำมำเขียนเป็นแผนภาพในกระดาษและออกแบบให้เป็นแผนผังที่หมุนได้ ทำให้ได้แรงบันดาลใจในการพัฒนำต่อยอดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หัวข้อ ‘แผนที่ดวงจันทร์’ นำมาเสนอในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ Young Scientist Competition: YSC ในปี 2562 สาขาโครงงานทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์”
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และผลงานนี้ก็ได้นำพาให้เยาวชนได้มีโอกาสเดินทางไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเวทีแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ และคว้ารางวัลกลับมาอีกด้วย
ASEAN Innovative Science and Entrepreneur Fair (AISEF) 2020 เป็นเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับอาเซียน มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้ฝึกกระบวนการคิดผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ดำเนินการจัดโดย Indonesian Young Scientist Association (IYSA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสาคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย
AISEF 2020 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ BG Junction Mall เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย โดยการแข่งขันแบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่
1) Innovation Science ได้แก่ การประยุกต์ในสาขาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์
2) Entrepreneurs คือ การนำเสนอแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับปริญญาตรี
มีโครงงานวิทยาศาสตร์จากประเทศในอาเซียนที่ส่งเข้าแข่งขันดังนี้ ประเทศไทย 1 ผลงาน เวียดนาม 2 ผลงาน กัมพูชา 1 ผลงาน มาเลเซีย 10 ผลงาน และอินโดนีเซียประเทศเจ้าภาพ ส่งมากกว่า 100 ผลงาน
สำหรับผลงานของเยาวชนไทยที่ส่งเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ ได้แก่ โครงงานเรื่อง “แผ่นหมุนดวงจันทร์” ผู้พัฒนางานประกอบไปด้วย
1) นายศิริสัก เดชะวรานนท์ (เยาวชน JSTP)
2) นางสาวศิลาลักษ์ จิระสุข และ
3) นางสาวสิริกาญจน์ ทองระอา
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร
โดยมีนายเมฆา ดีสงคราม เป็นคุณครูที่ปรึกษา
โครงการแผ่นหมุนดวงจันทร์ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันโครงงานการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 21 Young Scientist Competition (YSC 2019) ในสาขาโครงงานทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์ โดยคณะกรรมการมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความน่าสนใจ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม มีแนวคิดดี และวิธีการหลากหลาย
นอกจากนี้ทีมผู้พัฒนายังได้เข้าร่วมโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ และอยู่ในระหว่างยื่นขอสิทธิบัตรผลงานแผ่นหมุนดวงจันทร์
กิจกรรมในงาน AISEF 2020 มีทั้งหมด 3 วัน โดยวันแรกเป็นการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และจัดเตรียมบูธ วันที่สองเป็นพิธีเปิดงาน โดยมีตัวแทนเยาวชนแต่ละประเทศเดินถือธงชาติขึ้นไปบนเวที จากนั้นเป็นช่วงการตรวจผลงานโดยคณะกรรมการ วันที่สามซึ่งเป็นวันสุดท้าย มีการบรรยายเรื่อง Step Road Toward A Successful Entrepreneur การแสดงของตัวแทนเยาวชนแต่ละประเทศ โดยเยาวชนไทยได้แสดงดนตรีโดยการเป่าขลุ่ยและเล่นกีตาร์ จากนั้นจึงเป็นช่วงการประกาศรางวัลและพิธีปิด ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงงานแผ่นหมุนดวงจันทร์ จากประเทศไทย ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขา Innovation Science
นอกจากความทุ่มเทตั้งใจของเยาวชนแล้ว ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ คือ ดร.ศุภชัย อาวิพันธ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และนายจอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร ซึ่งเป็นรุ่นพี่ในโครงการ JSTP ที่ได้สละเวลาเป็นที่ปรึกษาโดยให้คำแนะนำต่างๆ ทั้งในด้านวิชาการ และการนาเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ให้แก่น้องๆ ก่อนเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งช่วยเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจให้แก่เยาวชนมากยิ่งขึ้น
“เป็นครั้งแรกที่ได้นำโครงงานแผ่นหมุนดวงจันทร์ไปประกวดและเผยแพร่นอกประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ผมได้รับประสบการณ์ต่างๆ เช่น การได้ปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ JSTP ซึ่งทางานเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ทำให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงงานมากขึ้นและนำแนวคิดไปพัฒนาต่อได้ รวมทั้งได้เรียนรู้เทคนิคและการพัฒนาภาษาอังกฤษด้วย
นอกจากนี้ได้เห็นการทาโครงงานของนักเรียนในประเทศของอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อนจากอินโดนีเซีย เช่น การส่งเสริมการประยุกต์นำเรื่องราวในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่ากันมาก โดยนักเรียนได้เรียนรู้หลักการและพัฒนามาด้วยตนเอง หรือโครงงานของมาเลเซียที่นางานเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ และ STEM ที่น่าสนใจมาเข้าร่วมแสดงมากมาย เช่น โดรน หรือระบบควบคุมบริหารต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีเพื่อนต่างชาติสนใจมาดูโครงงานแผ่นหมุนดวงจันทร์เยอะมากเช่นกัน สุดท้ายนี้ ก็ขอขอบคุณ สวทช. และพี่ๆ เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน ที่เปิดโอกาสให้ได้พบกับประสบการณ์ในประเทศอินโดนีเซีย ได้นำโครงงานไปเผยแพร่ให้กว้างไกลยิ่งขึ้นแก่เพื่อนๆ ในต่างประเทศ และได้สร้างมิตรภาพกับเพื่อนๆ ร่วมภูมิภาคอาเซียนครับ” นายศิริสัก เดชะวรานนท์ |
“หนูไม่เคยกล้าพูดภาษาอังกฤษได้มั่นใจขนาดนี้ ดร.ศุภชัย ได้ช่วยให้คำแนะนำดีมาก รู้สึกตื่นเต้นอย่างมากเพราะเป็นการไปต่างประเทศครั้งแรก และเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปแข่งโครงงานที่ต่างปร ะเทศอีกด้วย ต้องขอขอบคุณ สวทช. ที่ทำให้มีโอกาสดีๆ แบบนี้ ถ้ามีโอกาสก็อยากไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของเราอีกค่ะ”
นางสาวศิลาลักษ์ จิระสุข |
“ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด มุมมองด้านต่างๆ เกี่ยวกับการทำโครงงาน การประกวดแข่งขันโครงงานกับนักเรียน นักศึกษาในประเทศ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมของของละแต่ละประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เทคนิควิธีการนำเสนอให้น่าสนใจจากการแนะนำของ ดร.ศุภชัย หนูรู้สึกภาคภูมิใจ และได้ประสบการณ์มากมายจากการเดินทางไปแข่งขันในงาน ASISEF ครั้งนี้ค่ะ”
นางสาวสิริกาญจน์ ทองระอา |