เรื่องโดย
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
Mass hysteria หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า collective hysteria, mass psychogenic illness หรือ collective obsessional behavior เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับจิตสังคมซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในกรณีที่กลุ่มบุคคลนั้นมีความคิด ความเชื่อว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคเดียวกันหรือเผชิญปัญหาเดียวกัน จึงแสดงอาการออกมาแบบเดียวกัน
Mass psychogenic illness เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในกลุ่มคน ที่มีความเชื่อร่วมกัน และแสดงออกอาการทางร่างกายเช่น เกร็งตัว กล้ามเนื้อ กรีดร้อง ชัก ไม่รู้ตัว แต่เมื่อทำการตรวจทางการแพทย์แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติทางร่างกายที่อธิบายอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก วัยรุ่น หญิงมากกว่าชาย การแพร่กระจายของกลุ่มคนที่มีอาการแบบเดียวกันจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นจากการถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากคนที่เป็นมาก่อน หรือมีเหตุกระตุ้นจากภายนอก สิ่งแวดล้อม เช่นข่าวที่แพร่สะพัดออกไป และจะดีขึ้นได้หากแยกผู้ป่วยออกจากกัน และหาเหตุเหนี่ยวนำให้เกิดแล้วจัดการเสียโดยเร็ว
British historian and Fortean researcher Mike Dash ศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบ 6 ข้อที่บ่งชี้ว่าเกิดกรณี Mass hysteria ขึ้น
1. มีปัจจัยเหนี่ยวนำ เช่น ความเชื่อในท้องถิ่นในการเกิด Mass hysteria
2. มีการสื่อข้อมูลออกไป ทาให้เกิดความเชื่อเดียวกันแพร่กระจายออกไป
3. มีปัจจัยความเครียดในเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขาดความเชื่อถือในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่ง
กระตุ้นให้กลุ่มบุคคลเกิดการรับและการแปลข้อมูลที่ผิด
4. มีประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคนับถือ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อ mass hysteria ได้
5. มีภาวะของการถูกกระตุ้นเริ่มจาก 1 คนเป็น 2 คน และเหนี่ยวนำเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
6. มีการระบาดของอาการอย่างผิดปกติ จนต้องมีหน่วยงานเข้าไปดูแล Mass hysteria จะเกิดเมื่อคนหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด จะเหนี่ยวนาให้คนอื่นๆ แสดงอาการตาม อาการที่แสดงจะคล้ายกัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดหัว
ลักษณะอาการ มีดังนี้ ปวดศรีษะ มึนงงศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง เกร็งท้อง อ่อนเพลีย ง่วง เจ็บปวดในคอ หายใจลาบากหรือ หายใจหอบเร็ว (Hyperventilation or difficulty breathing) ชักเกร็งตัว เป็นลม หมดสติ อาการเหล่านี้คงอยู่เพียงชั่วคราว มีการแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และมีการฟื้นตัวเร็ว กลับมาเป็นปกติ ซึ่งเมื่อตรวจทางการแพทย์แล้ว ไม่พบว่ามีสาเหตุมาจากโรคทางกาย
อุปาทานหมู่แตกต่างจาก การสะกดจิตหมู่ เข้าทรง สวดภาณยักษ์
เนื่องจากการเข้าทรง สวดภาณยักษ์ จัดเป็นความผิดปกติของสภาวะสติสัมปชัญญะ เอกลักษณ์ของตนเอง หรือความจำซึ่งเกิดขึ้นครั้งเดียวหรือเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นของดั้งเดิมเฉพาะบางท้องถิ่นหรือวัฒนธรรม เป็นภาวะที่การรับรู้ต่อสิ่งที่อยู่รอบตัวมีแคบลง หรือมีพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวซ้าๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของบุคคลนั้น เป็นภาวะที่บุคคลนั้นมีบุคลิกลักษณะอันใหม่มาแทนบุคลิกลักษณะเดิมของตน โดยเป็นมาจากอานาจของวิญญาณ อำนาจลึกลับ เทพ หรือบุคคลอื่น และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวซ้าๆ “ อย่างบังคับไม่ได้” หรือมีการหลงลืม เป็นต้น และมักเกิดขึ้นกับคนๆ เดียว หรือกลุ่มเดียวมีเหตุการณ์เฉพาะทำให้เกิดแล้วหายไป เช่น ในพิธีไม่ได้มีการแพร่ระบาดออกไปมากเหมือนอุปาทานหมู่
วิธีรักษา
ในระดับบุคคล เมื่อเกิดอาการขึ้นไม่นานก็จะหายไปเองเมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย วิธีการรักษา คือ แยกผู้ป่วยคนแรกที่เกิดอาการ หรือ “คนเหนี่ยวนำ” ออกจากกลุ่ม เพื่อทาการรักษาด้วยการตรวจวิเคราะห์ร่างกาย ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ได้พักผ่อน สักพักอาการจะดีขึ้นจนเป็นปกติได้ แต่หากกลับเข้าไปในกลุ่ม ก็อาจ เกิดอากการซ้ำได้อีก หากความเชื่อ ยังคงมีอยู่ จากนั้นให้ประเมินสภาพจิตใจร่วมกับสิ่งแวดล้อม หรือพูดคุยให้คลายความกังวลใจ ทาจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นซ้ำ โดยอาจให้หยุดเรียนหรือทำงานสักพักโดยเฉพาะรายที่เป็นผู้เหนี่ยวนำ ผู้อื่นให้เกิดอาการ
ในระดับกลุ่ม เช่นเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน หรือเพื่อนที่ทางาน อาจมีอาการตามกันมาได้ และมักมีความเชื่อไสยศาสตร์ มาอธิบายปรากฏการณเหล่านี้ ยิ่งทาให้ เกิดความวิตก และการแพร่กระจายของอาการไปยังคนอื่นๆ ได้ง่าย ควรจัดการเรื่องความเชื่อเหล่านี้โดยเร็ว อาจใช้ผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือผู้ที่เป็นที่เคารพในชุมชนเป็นหลักในการแก้ไขความเชื่อนั้นๆ โดยอาจอนุญาตให้มีการกระทาพิธีกรรมเพื่อลบล้างความผิด ความเชื่อ ทาให้สภาวะทางจิตใจส่วนรวมกลับมาโดยเร็วที่สุด
การทำกลุ่มบำบัด (Group Counseling) ให้กับครู นักเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ จะช่วยให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและทาการแก้ไขปัญหาทางจิตใจ สังคมได้ตรงจุด และทำให้กลุ่มอาการเหล่านี้หายไปโดยเร็ว
อุปาทานหมู่
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
อภิปรายร่วมในเวที “นักวิทย์คุยข่าว”
26 มีนาคม 2551