จับมัน ! นิวทริโน ! 2

เรื่องและภาพโดย “ไอซี” วริศา ใจดี


สาระวิทย์ฉบับก่อนหน้านี้ฉันได้เล่าถึง “ดูน” (The Deep Underground Neutrino Experiment: DUNE) เครื่องตรวจจับแบบอาร์กอนเหลวที่ใช้ในการทดลอง และเล่าค้างไว้เรื่องวิธีที่จะตรวจจับเจ้านิวทริโน นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเครื่องตรวจจับนิวทริโนไว้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน แบ่งได้ตามเทคนิคที่ใช้และจุดประสงค์ของการทดลอง โดยมีลักษณะร่วมกันคือการตรวจวัดตำแหน่งของอนุภาคและเวลาที่เกิดการทำอันตรกิริยากัน เพื่อนำมาสร้างเป็นเส้นทางการเดินของอนุภาค

ฉบับนี้ฉันจะมาแนะนำให้รู้จัก “ไอซ์คิวบ์” (IceCube) เครื่องตรวจจับนิวทริโนความจุพันล้านตัน เครื่องแรกของโลก ที่สร้างขึ้นเพื่อสังเกตนิวทริโนจากแหล่งกำเนิดทางดาราศาสตร์พลังงานสูงโดยมีน้ำแข็งเป็นสื่อกลาง ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวล้ำ นักวิทยาศาสตร์ยังคงทำการทดลองค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยความหวังที่พวกเขาจะได้ทำความรู้จักและเข้าใจเจ้าอนุภาคเล็กจิ๋วที่ชื่อนิวทริโนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

About Author