ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์ทางเคมี ใช้ในการ ตวง-วัด ปริมาณสารที่เป็นของเหลว มีสเกลการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูง เทคนิคการใช้งานปิเปตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใช้งานควรมีเทคนิคที่ถูกต้องและมีทักษะในการใช้งานเป็นการลดข้อผืดพลาดในการทำการทดลองได้
ประเภทที่มีใช้อยู่ในห้องปฏิบัติการ มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ปิเปตต์แบบปริมาตร (volumetric pipette)
ปิเปตชนิดนี้ใช้วัดปริมาตรที่กำหนดเพียงปริมาตรเดียว ไม่ มีขีดแบ่งส่วนย่อยเหมือนสองชนิดแรก มีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ตรงกลาง มีขีดบอกปริมาตรอยู่เหนือกระเปาะใกล้ปลายปากดูด การวัดจะถูกต้องเมื่อปล่อยให้สารละลายไหลออกช้าๆ จนหมดแล้วแตะปิเปตกับผิวด้านในของภาชนะที่รองรับโดยไม่ต้องเป่า แม้จะมีสารละลายเหลืออยู่ที่ปลายของปิเปตต์บ้างก็ตาม
2. ปิเปตต์แบบใช้ตวง (graduated pipette)
ปิเปตชนิดนี้ไม่มีการเป่า มีขีดแบ่งย่อยปริมาตรแต่ไม่แบ่งลงไปจนถึงปลายสุดของปิเปต ดังนั้นเวลาใช้ต้องระวังอย่าให้สารละลายไหลลงไปต่ำกว่าส่วนแบ่งขีดสุดท้าย ซึ่งจะทำให้การถ่ายเทปริมาตรได้มากกว่าที่เป็นจริง
ในปัจจุบัน จำเป็นต้องวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยๆ ดังนั้นปิเปตต์อีกประเภทที่นิยมใช้คือ
3. ไมโครปิเปตต์ (micropipette)
ไมโครปิเปต (Micropipettes) หรือ ออโต้ปิเปต (Autopipettes) คือ อุปกรณ์ที่มีความแม่นยำให้การดูดจ่ายของเหลวปริมาณน้อยๆ โดยทั่วไปไมโครปิเปต จะมีส่วนประกอบ อาทิเช่น หน้าปัดสำหรับปรับปริมาตรที่ต้องการ, ปุ่มสำหรับกดดูดจ่ายสาร, ปุ่มในการปลดทิป เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูล
https://vet.kku.ac.th/physio/labbiochem/16/pipette.html
https://tiktraining.blogspot.com/2016/03/blog-post_16.html