ข้อมูลจากสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารไทยพบอุบัติการณ์โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 3 เท่าในรอบสองทศวรรษ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2563
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิยา ลี้ปิยะสกุลชัย
อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกและเทคโนโลยีประยุกต์ คณะเทคนิคการแพทย์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิยา ลี้ปิยะสกุลชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริรัตน์ ลูกอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกและเทคโนโลยีประยุกต์ คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ สรณเจริญพงศ์ อาจารย์ประจำสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการวิจัยในการทดสอบทางคลินิกของพรีไบโอติกส์ผสมใยอาหารทางธรรมชาติที่มีผลต่อความถี่อุจจาระ และจุลินทรีย์ในอุจจาระผู้ใหญ่ไทยที่มีภาวะท้องผูก
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ สรณเจริญพงศ์
อาจารย์ประจำสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยได้ทำให้บทบาทของภาควิชาฯ ฉายแววในงานวิจัยระดับชาติประกาศศักดาแห่งการเป็นห้องปฏิบัติการชั้นนำของประเทศ สู่การทดสอบทางห้องปฏิบัติการในขั้นตอนสำคัญจากการวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ร่วมกับ NIA และผู้ผลิตภาคเอกชน
เป็นที่ทราบกันดีว่าภายในลำไส้มีแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีต่อร่างกาย การรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ จะเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดีให้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย และจะช่วยเพิ่มกากใยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
โครงการทดสอบทางคลินิกของพรีไบโอติกส์ผสมใยอาหารทางธรรมชาติที่มีผลต่อความถี่อุจจาระ และจุลินทรีย์ในอุจจาระผู้ใหญ่ไทยที่มีภาวะท้องผูก ใช้เทคนิคการหาลำดับเบสสารพันธุกรรมของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้มาศึกษาเปรียบเทียบเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่การทดสอบ “ขับถ่ายสมดุล” ในกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองบริโภคผลิตภัณฑ์ “ผงผักพรีไอติกส์” ก่อนเตรียมขยายผลสู่การทดสอบการลดอุบัติการมะเร็งลำไส้ใหญ่ ต่อไป
ผลของโครงการวิจัยนี้หวังให้เป็นเครื่องมือสำคัญแห่ง “ศาสตร์ไมโครไบโอม” หรือการศึกษาสภาวะแวดล้อมของจุลชีพ ตามยุทธศาสตร์วิจัยของชาติ และเทรนด์โลก สู่การค้นพบการลดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
ภาพจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210