เล่าเรื่องการสกัด ตอนที่ 2

โดย รวิศ ทัศคร


        จากบทความเล่าเรื่องการสกัดตอนที่ 1 ในสาระวิทย์ฉบับที่ 119 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เราได้รู้จักกับเทคนิคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดวิธีแรกคือการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ในการช่วยสกัด ฉบับนี้จะมาแนะนำวิธีอื่น ๆ ที่ใช้ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการสกัดกัน

          จริง ๆ วิธีพวกนี้มีมากมายหลายแบบ อาทิ การให้ความร้อนแบบโอห์มิก (ohmic heating assisted extraction) การปล่อยไฟฟ้าความต่างศักย์สูง (high-voltage electrical discharge assisted extraction) นอกจากนี้ในปัจจุบันทิศทางของเทคโนโลยียังมุ่งไปทางวิธีการสกัดที่มีระดับพลังงานสูงและลดการใช้ตัวทำละลายลงอีกด้วย วิธีเหล่านี้ได้แก่ การสกัดด้วยตัวทำละลายเหนือวิกฤต (supercritical fluid extraction: SFE), การสกัดด้วยตัวทำละลายแบบเร่งด่วน (accelerated solvent extraction: ASE) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า (pressurized liquid extraction: PLE) ซึ่งหากตัวทำละลายเป็นน้ำจะเรียกว่าการสกัดด้วยน้ำใต้วิกฤต (subcritical water extraction: SWE), การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยในการสกัด (ultrasound assisted extraction: UAE), การใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัด (microwave assisted extraction: MAE) และการสกัดแบบต่าง ๆ ที่ไม่ใช้ตัวทำละลาย (solvent-free extraction) เช่น solvent free microwave extraction (SFME) หรือวิธี instant controlled pressure drop (DIC) ซึ่งการที่วิธีการสกัดที่มีระดับพลังงานสูงเหล่านี้ได้รับความสนใจ นอกจากด้วยเหตุที่สามารถลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนวิธีการสกัดแบบเดิม ๆ แล้ว วิธีเหล่านี้ยังออกแบบกระบวนการให้สกัดได้โดยอัตโนมัติในสายการผลิตระหว่างการผลิตได้อีกด้วย แต่เนื่องจากพื้นที่บทความมีจำกัด ผู้เขียนจะเลือกเพียงบางวิธีมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ลิงก์ด้านล่าง (หน้า 25-30)
https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/ebook/sarawit/sarawit-issue-122/

หรือดาวน์โหลด PDF ไฟล์ได้ที่
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/294224

About Author