เรื่องของ “เวลา” ที่เรารู้จักหรือใช้กันอยู่ทุกวันจนดูเหมือนเป็นเรื่องใกล้ตัวนั้น ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญมาก เพราะเวลาไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ใช้บอกเวลาในชีวิตประจำวันหรือการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ยังมีความสำคัญในด้านอื่นๆ เช่น การสื่อสาร 5G Internet of Things : IoT การทำงานของระบบ Radar หรือระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเวลาและความถี่ของประเทศ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างศักยภาพให้แก่ระบบดิจิทัล
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจากทีมนักวิจัยจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และ Quantum Technology Foundation (Thailand) มาร่วมพูดคุยถึง โครงการนาฬิกาอะตอมเชิงแสงของไอออนธาตุอิธเธอเบียม (Ytterbium ion optical clock) ที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเวลาและความถี่ของประเทศไทย ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อการวัดทางมิติและการวัดทางไฟฟ้าให้มีความแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการทำวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม ไม่ว่าจะเป็นมาตรวิทยาและการตรวจวัดเชิงควอนตัม (Quantum Metrology and Sensing) หรือควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer)
แขกรับเชิญ
1. ดร.ปิยพัฒน์ พูลทอง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
2. ดร.รัฐกร แก้วอ่วม สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
3. ดร.ธเนศ พฤทธิวรสิน Quantum Technology Foundation (Thailand)
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.นรมน อินทรานนท์
ศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินจัดอันดับเทคโนโลยีไทย สวทช.