Podcast รายการ Sci เข้าหู EP36: ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า ความยั่งยืนทางพันธุกรรมพืชของชุมชน

          “ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า” ฟักทองพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดน่านที่มีเนื้อสีเหลืองปนเขียวคล้ายสีของไข่เน่า แต่เมื่อผ่าแล้วนำไปนึ่งจะมีเนื้อแน่น เหนียวหนึบ ไม่ยุ่ย รสชาติหวานมัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ จ.น่าน จึงมีเป้าหมายและความต้องการคัดเลือกพันธุ์ฟักทองพื้นเมือง เพื่อขอยื่นจดทะเบียนเป็นพันธุ์ฟักทองของจังหวัดน่าน (Geographical Indications หรือ GI) และยื่นขอคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นเพื่อเป็นสมบัติของชุมชน

          สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกับ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด พัฒนากลุ่มเกษตรกร นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้าไปถ่ายทอดเพื่อแก้ปัญหา และยกระดับคุณภาพผลผลิตฟักทองของกลุ่มฯ โดยเห็นความสำคัญของ Bio economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อใช้ทรัพยากรชีวภาพของชุมชน วิเคราะห์สารสำคัญในฟักทองเพื่อหาจุดเด่นและศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่จะยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

          วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจากคุณณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการ ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สวทช. มาร่วมพูดคุยบอกเล่าถึงงานวิจัยฟักทองพันธุ์ไข่เน่า สามารถช่วยสร้างความยั่งยืนทางพันธุกรรมพืชของชุมชน และส่งเสริม BCG ในด้านเศรษฐกิจชีวภาพอย่างไรบ้าง


แขกรับเชิญ

ณัฐวุฒิ ดำริห์
นักวิชาการ
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

ผู้ดำเนินรายการ

ปริทัศน์  เทียนทอง
บรรณาธิการบริหาร นิตยสารสาระวิทย์


About Author