โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการต้นแบบ ‘บูรณาการ’ สู่การถอดบทเรียนรับมือวิกฤติโควิด-19

         วิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงอย่างมาก อันเนื่องมาจากจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาซึ่งแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มไม่เว้นแม้แต่คนพิการ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการทางการเห็น พิการทางการได้ยิน พิการทางการเคลื่อนไหว/ร่างกาย และพิการทางสติปัญญา ซึ่งยากต่อการเผชิญหน้ากับโรคระบาดนี้ได้เพียงลำพัง
 
         สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ผสานกำลังนำจุดแข็งที่เป็นความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดูแลคนพิการ รวมถึงการรับมือโรคโควิด-19 ประกอบกับความเป็นมืออาชีพในการสนับสนุนสวัสดิการและการช่วยเหลือคนพิการมาใช้เป็นฐานทุนในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เพื่อให้บริการคนพิการที่ป่วยโรคโควิด-19 (กลุ่มสีเขียว) ได้พักฟื้นรักษาตัว กระทั่งวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ได้ส่งผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 3 รายสุดท้ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย ประกอบกับสถานการณ์การระบาดที่เริ่มคลี่คลายลง ทำให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ได้ยุติการดำเนินงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กันยายน
 
         ทั้งนี้ผลลัพธ์จากการดำเนินงานอย่างแข็งขันของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนตลอดระยะเวลา 120 วัน และเกือบตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน ไม่ได้เพียงช่วยให้คนพิการที่ป่วยโควิด-19 ได้รับการรักษาและหายป่วยกลับบ้านอย่างปลอดภัย ทว่าทุกบทบาทและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ แห่งนี้ ยังกลายเป็นบทเรียนหน้าใหม่ให้แก่ทีมสหวิชาชีพทุกหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การสร้างต้นแบบโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลคนพิการในยามเผชิญโรคระบาดของโรคอุบัติใหม่ในอนาคต
 
อ่านข่าวเพิ่มเติม
https://www.nstda.or.th/home/news_post/nstda-12102564

About Author