เพื่อสอดรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุค Web 3.0 และการมุ่งสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้เปิดมิติสู่การสร้างโอกาสใหม่ให้นักวิจัย นักศึกษา รวมถึงภาคเอกชนด้วยแผนเชิงรุก “Mahidol Startup Incubation Academy”
รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อาจารย์วิศวกรชีวการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน อาทิ “iThink” อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการขั้นรุนแรงในการสื่อสาร “ALERTZ” หรือนวัตกรรมป้องกันการหลับในขณะขับรถด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือล่าสุด “CHEM METER” เครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหารเพื่อการรณรงค์ลดบริโภคเค็ม คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในบทบาทใหม่ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คนปัจจุบัน
“สิ่งที่เราจะได้เห็นนับจากนี้ไป คือ การพลิกโฉมสถาบัน iNT จากบทบาท Tech Management สู่การเป็น Tech Institute Platform เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาและนักวิจัยจากทุกคณะ รวมถึงภาคเอกชน
โดยในเฟสแรกจะมีการเดินหน้าพัฒนา Ecosystem สำหรับการพัฒนานวัตกรรม เช่น โครงการ “Mahidol Startup Incubation Program” หรือสถาบันบ่มเพาะสตาร์ทอัพอย่างจริงจัง โดยที่สถาบัน iNT จะทำหน้าที่เป็น “Facilitator” ผู้ผลักดันและส่งเสริมนักศึกษา รวมถึงนักวิจัยสู่การสร้าง Startup หรือ Spin off company หรือการ Licensing Technology สู่เอกชน
โดยจะสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การเป็น “Startup Incubation Village” การเชิญชวนนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ Collaborators จากภาคเอกชนมาร่วมเป็น Mentors รวมถึงการเชื่อมโยงกับ Innovative Ecosystem ของคณะต่างๆ
โดยสถาบัน iNT จะร่วม facilitate ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการเชื่อมโยงภาคเอกชน กับโครงการบริการวิชาการของคณะต่างๆ ขนานไปด้วยกัน ซึ่งสอดรับกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564
ปัจจุบันนักศึกษาสามารถใช้ MaSHARES Co-working Space@MB สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล True LAB ชั้น 2 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MLC) และ ณ บริเวณหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างสาขา โดย สถาบัน iNT พร้อมที่จะทำให้ทุกฝันของการมุ่งสู่เส้นทางสตาร์ทอัพเป็นจริง
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ยังได้กล่าวฝากถึง “นวัตกร” ว่าไม่ใช่เพียงผู้มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเท่านั้น ทุกสาขาอาชีพสามารถเป็นนวัตกรได้ทั้งหมด สำคัญที่สุด คือ โอกาสในการสร้างทีม และเพื่อนที่มีความหลากหลายความเชี่ยวชาญ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน เริ่มต้นจากโจทย์ที่ใกล้ตัว ซึ่งเราจะสามารถแก้ได้ดีที่สุด และพัฒนาให้เป็น Global Issues
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย
ฐิติรัตน์ เดชพรหม
นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย
วิไล กสิโสภา
นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210