TITLE NAME

2561
การพัฒนาน้ำกะทิไขมันต่ำ จากผงบุก และนมโปรตีนถั่วเหลือง
- อรรถวดี ฆารบุญ
- ศศิธร ธนพงศ์พิพัฒน์
- จุฑารัตน์ ใจงาม
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
ในการประกอบอาหารมักนิยมใช้น้ำกะทิเป็นส่วนผสม แต่ผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นไม่สามารถบริโภคอาหารที่ทำจากน้ำกะทิได้ เนื่องจากแพทย์ได้กำหนดปริมาณไขมันที่ผู้ป่วยสามารถบริโภคได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงาน ซึ่งในกะทิแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือหัวกะทิและหางกะทิ โดยร้อยละ 93 ของพลังงานในน้ำกะทิได้มาจากสารอาหารจำพวกไขมัน โครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำกะทิ โดยใช้ผงบุกและน้ำนมโปรตีนถั่วเหลืองเป็นตัวทดแทนไขมันในกะทิ โดยจากงานวิจัยที่ได้ศึกษาพบว่าผงบุกที่ได้จากการสกัดแบบแห้งมีค่าความหนืดประมาณ 15,000 เซนติพอยส์ และน้ำนมถั่วเหลืองเป็นของเหลวคอลลอยด์ เมื่อนำส่วนผมทั้งสองมาผสมรวมกันให้เป็นเนื้อเดียวกันเป็นของเหลวคอลลอยด์คล้ายกับน้ำกะทิ ซึ่งจะมีการวัดคุณสมบัติเปรียบเทียบริมาณไขมันในน้ำกะทิที่พัฒนาขึ้นกับน้ำกะทิตามท้องตลาดทั่วไป และมีการนำน้ำกะทิไปประกอบอาหารคาว คือแกงเขียวหวาน และอาหารหวาน คือ ลอดช่อง ให้บุคคลกลุ่มตัวอย่างได้ทดลองชิมเทียบกับน้ำกะทิทั่วไป โดยในการทดลองได้มีการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างผงบุก และน้ำนมโปรตีนถั่วเหลืองคือ 1 : 10 , 1 : 20 และ 1 : 30 ในหน่วยของช้อนชา เพื่อหาอัตราที่เหมาะสมในการพัฒนาดัดแปลงน้ำกะทิไขมันต่ำ จากการศึกษาอัตราส่วนระหว่างผงบุกและน้ำนมโปรตีนถั่วเหลืองทำให้ทราบว่า ถ้าปริมาณผงบุกที่ใช้น้อยกว่าน้ำนมถั่วดินถั่วเหลืองจะทำให้น้ำกะทิที่ได้มีลักษณะคล้ายกับน้ำกะทิตามท้องตลาด คือมีสีที่ใกล้เคียงกัน และมีลักษณะเป็นของเหลวคอลลอยด์ คำสำคัญ : น้ำกะทิ, ผงบุก, น้ำนมโปรตีนถั่วเหลือง, การพัฒนา