TITLE NAME

2561
ศึกษาผลของนาโนZnO และคาร์บอนแบล็คต่อการจัดทำโครงกระดูก
- พุทธชาติ สมศรีแพง
- จุฑาทิพย์ ทัดทาน
- มาริษา สุวรรณ
- จุฑามาศ คำเพชรดี
ร่มเกล้า
เนื่องจากได้พบปัญหาจากการปฏิบัติการทำโครงกระดูก โดยวิธีการต้ม ดังนี้ ขั้นการแยกชิ้นส่วนปัญหาการแยกกระดูกอ่อนที่ปลายซี่โครงต้องนำไปแช่ฟอร์มาลีน ทำให้มีกลิ่นเหม็น อันตรายต่อระบบหายใจ ดังนั้นจึง ตอนที่1 ศึกษาเปรียบเทียบการคงสภาพและลักษณะภายนอกของกระดูกอ่อนที่แช่ฟอร์มาลีน และ แช่สารละลายนาโน ZnO โดยนำกระดูกอ่อนสดจากโครงกระดูกตัวไก่ชำแหละแยกชิ้นแช่ลงในสารละลายฟอร์มาลีน10% และแช่สารละลายนาโน ZnO เข้มข้นร้อยละ 1 %โดยมวล/ปริมาตร พบว่าสารละลายนาโนZnO ไม่สามารถรักษาความสด และ ไม่คงสภาพรูปร่างใช้แช่กระดูกแทนสารละลายฟอร์มาลีนไม่ได้ ขั้นฟอกกระดูกและประกอบโครง พบปัญหาการใช้สารฟอกสีทำให้กระดูกบางพรุน เกิดช่องว่าง กระดูกไม่แข็งแรง ทำให้ มด และ แมลงกัดเจาะ ตอนที่ 2 จึงได้ ศึกษาเปรียบเทียบการตอม กัด แทะ จากมดและแมลงระหว่างกระดูกไก่ที่ฟอกสี และกระดูกไก่ฟอกสีแช่รวม และแยกแช่สารละลายนาโน ZnO และคาร์บอนแบล็ค โดยนำกระดูกไก่ฟอกสีด้วยสารละลายH2O2+KOH แยกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1 ไม่เติมสารใด ส่วนที่2 เติมสารละลายนาโนZnO 0.5g ส่วนที่3 เติมสารละลายคาร์บอนแบล็ค 0.5g ผลที่ได้พบว่า กระดูกที่ไม่ฟอกสีและฟอกสี มีมดและ แมลงตอมกัดแทะ ส่วนกระดูกที่แช่สารฟอกสีรวมนาโนZnO และคาร์บอนแบล็คไม่มีมดและแมลงตอม ตอนที่3 ศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงของกระดูกที่ฟอกสี โดยวิธีการฟอกสีแช่รวม และแยกแช่ กับสารละลายนาโนZnO และคาร์บอนแบล็ค โดยนำกระดูกไก่ที่ฟอกสีแล้วแบ่งเป็น 5 ส่วน คือกระดูกฟอกสี กระดูกฟอกสีแช่รวมสารละลายZnO และกระดูกฟอกสีแยกแช่สารละลายZnO มวล 0.5,1 กรัม กระดูกไก่ฟอกสีแช่รวมคาร์บอนแบล็คและกระดูกฟอกสีแยกแช่คาร์บอนแบล็ค มวล 0.5,1 กรัม ผลที่ได้ กระดูกที่แข็งแรงคือกระดูกฟอกสีแช่รวมที่มีมวล 0.5 กรัม โดยเปรียบเทียบระดับการแตก เกิดรอยร้าว พบว่า กระดูกไก่ฟอกสีแช่รวมคาร์บอนแบล็คแข็งแรงมากกว่ากระดูกฟอกสีที่แช่รวมนาโนZnO ดังนั้น โครงงานนี้สามารถนำนาโนZnO และคาร์บอนแบล็ค ไปแช่รวมในกระบวนการฟอกสี วิธีการต้มเพื่อปรับปรุงการทำโครงกระดูกสัตว์ ซึ่งจะทำให้เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ป้องกัน มด แมลง เจาะกระดูกแทนยาฆ่าแมลง เป็นการสนับสนุน การนำเศษกระดูก เศษสิ่งไร้ค่ามาเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ผู้ศึกษาโครงกระดูกสัตว์ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม