TITLE NAME
2562
การผลิตกระถางและถาดเพาะกล้าไม้ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากใยกล้วยเสริมธาตุ N P K จากใบพืชตระกูลถั่ว
- นิรดา อาจอุดม
- ศิริลักษณ์ โมกไธสง
- จิรายุทธ โพธิราช
- ศิริลักษณ์ โมกไธสง
- จิรายุทธ โพธิราช
- ธนวรรณ มาลานนท์
นาโพธิ์พิทยาคม
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การผลิตกระถางและถาดเพาะกล้าไม้ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากใยกล้วย เสริมธาตุ N P K จากใบพืชตระกูลถั่ว มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรรมวิธีผลิตกระถาง/ถาดเพาะกล้าไม้จากใยกล้วยโดยใช้ตัวประสานจากน้ำยางธรรมชาติเสริมธาตุ N P K จากใบพืชตระกูลถั่ว 2) เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขนาดความยาวของใยกล้วย ปริมาณของใยกล้วยและปริมาณของตัวประสานจากน้ำยางธรรมชาติ สำหรับใช้ในการขึ้นรูป 3) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของกระถาง/ถาดเพาะกล้าไม้จากใยกล้วย ได้ผลการทดลอง ดังนี้
ผลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขนาดความยาวของใยกล้วย ปริมาณของใยกล้วยและปริมาณของตัวประสานจากน้ำยางธรรมชาติสำหรับใช้ในการขึ้นรูป ความยาวของใยกล้วยและอัตราส่วนระหว่างใยกล้วยกับน้ำยางธรรมชาติที่สามารถประสานกันเป็นแผ่นได้ ดังนี้ ขนาดความยาวใยกล้วย 2 5 และ 10 เซนติเมตร อัตราส่วนใยกล้วยต่อตัวประสาน 60 : 40 และ 70 : 30 สามารถทำให้ใยกล้วยยึดติดกันเป็นแผ่นได้ โดยใยกล้วยที่มีขนาด 2 เซนติเมตร อัตราส่วนใยกล้วยต่อตัวประสาน 60 : 40 มีความแข็งแรงและสามารถเก็บความชื้นได้มากที่สุด ผลการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพ กระถางและถาดจากใยกล้วยผสมน้ำยางธรรมชาติสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ สภาวะที่ย่อยสลายได้ดีที่สุดคือ กระถางและถาดเพาะกล้าไม้อยู่ในสภาวะฝังกลบและมีความชื้น ผลการพัฒนากระถางและถาดเพาะกล้าไม้จากใยกล้วยผสมน้ำยางธรรมชาติให้มีธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของพืช กระถางและถาดที่เติมใบพืชตระกูลถั่วพบว่า ดินในกระถางที่เติม
ใบก้ามปู ใบกระถิน และใบแค มีธาตุ N P K เพิ่มขึ้น โดยค่า N P K ที่วัดได้ N มีค่าอยู่ระหว่าง 50-200 parts per million P มีค่าระหว่าง 4-14 parts per million และ K มีค่าระหว่าง 50-200 parts per million ซึ่งเป็นค่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ มีความเหมาะสมที่จะนำไปเพาะปลูกได้ ต้นทุนที่ใช้ใน
การผลิตไม่มาก มีความคุ้มทุนต่อการที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพาะกล้าไม้ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม