TITLE NAME
2564
ไหมขัดฟันจากป่านศรนารายณ์
- อภิสรา วงษ์ดำรงศักดิ์
- สสิณา สรสิทธิ์สุขสกุล
- สสิณา สรสิทธิ์สุขสกุล
- ปิยะนุช เขียวอร่าม
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
การทำความสะอาดช่องปากโดยการแปรงฟันเพียงอย่างเดียวสามารถทำความสะอาดช่องปากได้เพียง บางส่วนเท่านั้นแต่ไม่สามารถกำจัดเศษอาหารตกค้างและคราบจุลินทรีย์(ไบโอฟิล์ม)ที่สะสมอยู่ตามขอบเหงือก และซอกฟันบริเวณที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าถึงได้กลายเป็นปัญหาเกี่ยวกับโรคทางทันตกรรมอื่นๆตามมา เช่น หินปูน เหงือกอักเสบ เหงือกร่น ฟันผุ คอฟันสึก เป็นต้น สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำการใช้ ใหม่ขัดฟันเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลช่องปากโดยให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันซึ่งไหมขัดฟันที่ใช้กันใน ปัจจุบันนี้ ทั่วไปประกอบด้วยเส้นใยจำนวนมากซึ่งทำจากพลาสติกในหนึ่งปีจะมีขยะที่เกิดขึ้นจากไหมขัดฟัน มากกว่า 700 ล้านชิ้นและส่วนมากมักจะนำไปรีไซเคิลไม่ได้
เส้นใยป่านศรนารายณ์เป็นเส้นใหญ่เซลลูโลสที่ได้จากใบของลำต้นป่านศรนารายณ์ซึ่งในประเทศไทย มีปลูกมากที่อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เส้นใยป่านศรนารายณ์ที่ไม่ผ่านการดัดแปลงประกอบด้วย ความชื้นประมาณร้อยละ 7 เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเส้นใหญ่ป่านศรนารายณ์ที่อบแห้งแล้วพบว่า ประกอบด้วยลิกนินร้อยละ 8 เฮมิเซลลูโลสร้อยละ 19 และเซลลูโลสร้อยละ 66 และมีค่ามอดุลัสของยังก์ เท่ากับ 52 GPa ความทนต่อแรงดึงเท่ากับ 1.1 GPa และความเหนียวเท่ากับ 18.6 J/m ลักษณะสัณฐาน วิทยาของเส้นใยมีชั้นเยื่อบางๆปกคลุมผิวหน้าซึ่งเป็นสารจะประกอบจำพวกไขและแว็กซ์
ไคโตซานเป็นสารโพลิเมอร์ธรรมชาติที่สกัดได้จากไคตินที่พบในเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกน ปลาหมึก เป็นต้น ซึ่งไคโตซานสามารถจับไขมันได้ดี ปัจจุบันมีการนำไคโตซานมาประยุกต์ใช้หลายอย่าง เนื่องจากมีสมบัติพิเศษหลายประการ และประเทศไทยส่งออกกุ้งแช่แข็งติดอันดับโลกและมีขยะจากเปลือกกุ้งที่ เหลือทิ้งมากมาย
เราจึงได้นำเส้นใยป่านศรนารายณ์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายคลึงกับไหมขัดฟันทั่วไปมาใช้เป็น วัตถุดิบเพื่อลดปัญหาจากขยะพลาสติกและทำการเคลือบเส้นใยด้วยไคโตซานจากเปลือกกุ้งนอกจากนี้ยัง เป็นการส่งเสริมเกษตรกรท้องถิ่นที่มีรายได้จากการปลูกต้นป่านศรนารายณ์อีกด้วย