Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • แถลงข่าวการแข่งขัน CanSat Thailand 2018 ณ จตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
  • CanSat Thailand
  • News & Articles

แถลงข่าวการแข่งขัน CanSat Thailand 2018 ณ จตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.

NSTDA SPACE Education 04/07/2018

กระทรวงวิทย์จับมือศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ จัดการแข่งขัน “CanSat Thailand 2018” ออกแบบดาวเทียมกระป๋องเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศ

ผศ.รวิน  ระวิวงศ์   ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า  กระทรวงวิทย์โดย อพวช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้าและสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ร่วมกับ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) และสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย  เปิดตัวการแข่งขัน “CanSat Thailand 2018” ขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อ เปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งผลงานเข้าแข่งขัน    

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีดาวเทียม มุ่งเน้นการปฏิบัติการจริง ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในด้านสะเต็มศึกษา ผ่านการสร้างและพัฒนา CanSat ให้มีองค์ประกอบที่สามารถพัฒนาหรือต่อยอดไปใช้งานได้จริง

“การแข่งขัน CanSat Thailand 2017 ในปีที่แล้วนั้น  ถือว่าประสบความสำเร็จดี โดยได้ทีมชนะเลิศ เป็นเยาวชนจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์  ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาดูงานในการแข่งขัน เวทีระดับนานาชาติ ที่ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ”

ด้าน นาวาอากาศเอก ฐากูร    เกิดแก้ว  ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ Cansat  ว่า CanSat เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จำลองการทำงานของดาวเทียม โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทั้งนี้ กำหนดให้มีขนาดเล็กเท่ากระป๋องน้ำอัดลม และไม่ได้ถูกปล่อยเข้าสู่วงโคจรในอวกาศจริง ดาวเทียมกระป๋องจะต้องถูกปล่อยโดยใช้เครื่องบินไร้คนขับ (UAV) ซึ่งการควบคุมจากสถานีภาคพื้น เรือชูชีพที่ติดเข้าไปกับ UAV จะเป็นอุปกรณ์ช่วยปล่อยดาวเทียมกระป๋อง โดยอาศัยการทำงานของมอเตอร์ในการปล่อย และดาวเทียมกระป๋องทั้งหมดจะถูกปล่อยลงจากความสูง 100 เมตร (+/- 20 เมตร) จากพื้นดิน ในระหว่างที่กางร่มชูชีพร่อนลงมา

CanSat จะปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ ก่อนที่จะตกถึงพื้นดิน ซึ่งเยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบดาวเทียม พร้อมสร้างและประกอบดาวเทียมขึ้นมา และการกำหนดภารกิจให้ดาวเทียมทำในการเก็บข้อมูลตรงเซ็นเซอร์ตรวจวัดได้ในขณะที่ดาวเทียมลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วย อุณหภูมิ ความดันและตำแหน่ง หรือ อาจจะสร้างภารกิจของทีมขึ้นมาตามที่ต้องการ

สำหรับการแข่งขัน CanSat Thailand 2018 จะเปิดรับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เพื่อแข่งขันเป็นประเภททีม โดยทีมจะต้องสมาชิกทีมละ 3 คน (อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน) เริ่มสมัครได้ตั้งแต่ 16 ก.ค. – 31 ส.ค. 61 นี้ โดยในเดือนก.ค. นี้   อพวช. มีการจัดการอบรมแนะนำโครงการฯ โดยเยาวชนสมัครเข้าอบรมฯฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในวันที่ 17 ก.ย. 61 จะประกาศผลทีมที่เข้ารอบ 50 ทีม เพื่อเข้าค่ายพัฒนาทักษะในวันที่ 19-21 ต.ค. 61  และประกาศผล 10 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบก่อนไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 8 -10 ธันวาคม 2561 สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Website : www.nsm.or.th, www.nstda.or.th/cansat และ Facebook : Thai Space Education”

แหล่งข่าว :
https://www.dailynews.co.th/it/652276

http://daily.bangkokbiznews.com/detail/337146

https://siamrath.co.th/n/38419

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: cansat CanSat 2018 ดาวเทียมกระป๋อง แคนแซท

Continue Reading

Previous: ประมวลภาพกิจกรรม ประชาสัมพันธ์โครงการ National Space Exploration (NSE) ม.เชียงใหม่
Next: Singapore Space Challenge 2018/19

Related Stories

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.8k views
  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ 5.7k views

You may have missed

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023
MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก
  • News & Articles

MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก

22/02/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.