1. หลักการและเหตุผล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยได้ร่วมมือกับอาจารย์อรรถวุฒิ วงศ์ประดิษฐ์ อาจารย์จากภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง โคมไฟแถบแสง LED จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นชุดสื่อการเรียนรู้ที่ใช้การอบรมแบบออนไลน์ จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของ สสวท. ซึ่งจากการจัดกิจกรรมอบรมให้กับนักเรียนพบว่า สื่อดังกล่าวสามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องการคำนวณ การออกแบบ รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติได้เป็นอย่างดี
เพื่อเป็นการขยายผลการใช้สื่อดังกล่าว สวทช. จึงได้จัดทำโครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง โคมไฟแถบแสง LED จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีความสนใจนำสื่อดังกล่าวไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยชุดสื่อดังกล่าวได้มีการออกแบบที่สนับสนุนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลงมือวางแผน และแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญอย่างสูงในปัจจุบัน
2. วัตถุประสงค์
2.1. เสริมสร้างทักษะและความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ การออกแบบโมเดล 3 มิติ รวมถึงการสร้างขึ้นตอนการสร้าง “โคมไฟแถบแสง LED” ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
2.2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้ที่มากขึ้นเป็นรายบุคคล
2.3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทางด้านเรขาคณิต รูปทรง การตีความหมายเชิงคณิตศาสตร์ผ่านชุดเอกสารประกอบการเรียนรู้
2.4. เสริมสร้างทักษะและความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ผ่านการทำโคมไฟแถบแสง LED
3. สิ่งส่งมอบ ทำสื่อการเรียนการสอน ในรูปแบบ วิดีโอคลิป ทั้ง on-line และ off-line โดยแบ่งออกเป็น
3.1. เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
3.2. การออกแบบโมเดล 3 มิติ
3.3. การสร้างโคมไฟแถบแสง LED ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
4. กลุ่มเป้าหมาย
4.1. โรงเรียนที่ได้รับมอบอุปกรณ์ จำนวน 250 โรงเรียน
4.2. นักเรียนประถมศึกษา ครู รวมทั้งบุคลากรทั่วไป สามารถเรียนรู้ on-line ได้
5. งบประมาณสนับสนุน บริษัท XYZPrinting (ประเทศไทย) จำกัด
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล “เครื่องพิมพ์สามมิติ”
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ตามที่ โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเครือข่ายกิจกรรมเพื่อทำการขยายผลการใช้สื่อและสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีความสนใจนำชุดสื่อดังกล่าวไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลงมือวางแผนและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผ่านบทเรียนออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน
โครงการฯ ได้พิจารณาจากผลงาน คลิปวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยผลการพิจารณาเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกที่ได้ประกาศไว้ จึงขอประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับรางวัล ดาวโหลดไฟล์ประกาศรายชื่อได้ที่ : https://www.nstda.or.th/ssh/images/65TrainingCourse/Announcing_-3D_print_award_group_final.pdf
กรณีมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม เกี่ยวกับข้อมูลชุดสื่อโคมไฟบทเรียนออนไลน์ หรือการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถเข้ากลุ่มไลน์ (scan QR Code) โดยจะมีวิศวกร นักวิชาการและทีมคอยตอบข้อซักถาม
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ตามที่ โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเครือข่ายกิจกรรมเพื่อทำการขยายผลการใช้สื่อและสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีความสนใจนำชุดสื่อดังกล่าวไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลงมือวางแผนและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผ่านบทเรียนออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน โดยมีรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โรงเรียนละ 1 ชุด ดังต่อไปนี้
ดาวโหลดไฟล์ประกาศรายชื่อได้ที่ : https://www.nstda.or.th/ssh/images/65TrainingCourse/Announcing_schools_for_the_kit.pdf
ขยายระยะเวลาการส่งผลงานชิงรางวัล โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
“สำคัญ” ขยายระยะเวลาการส่งผลงานชิงรางวัล
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
สวทช. ได้ขยายระยะเวลาการส่งผลงานทั้งสองกลุ่มเข้าชิงรางวัล ดังนี้
– ส่งผลงาน ระหว่างวันที่ 1-24 กันยายน 2565
– โรงเรียนสามารถเลือกส่งผลงานได้เพียง 1 กลุ่มรางวัลเท่านั้น
– นำวิดีโอคลิป (คุณภาพอย่างน้อย 720p) อัปโหลดลงในยูทูป (YouTube) โดยตั้งค่าให้เป็นสาธารณะ และนำส่งผลงานมาในฟอร์มส่งผลงานที่ลิงก์: https://forms.gle/JM1pmKUeFpQrsu6c9
กำหนดการประกาศผลและมอบรางวัล
1) กลุ่มรางวัลสื่อการสอนคณิตศาสตร์: ประกาศผล วันที่ 29 กันยายน 2565
2) กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: ประกาศผลรอบคัดเลือก วันที่ 29 กันยายน 2565
2.1) 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก นำเสนอผลงาน (ทีมละ 15 นาที): วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 9:00 – 17:00 น.
2.2) ประกาศผลรอบตัดสิน กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: วันที่ 7 ตุลาคม 2565
ดาวน์โหลด คลิก
กรณีมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม เกี่ยวกับข้อมูลชุดสื่อโคมไฟบทเรียนออนไลน์ หรือการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถเข้ากลุ่มไลน์ (scan QR Code) โดยจะมีวิศวกร นักวิชาการและทีมคอยตอบข้อซักถาม
รายละเอียดและหลักเกณฑ์การส่งผลงานชิงรางวัล
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท XYZPrinting (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญชวนโรงเรียนที่ได้รับมอบอุปกรณ์ชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่งผลงานการใช้ประโยชน์สื่อการเรียนรู้เข้าชิงรางวัล โดยโครงการมีรางวัล 2 กลุ่มรางวัล ได้แก่
1) รางวัลสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ชุด “เกมส์คณิต คิดทุกวัน” ซึ่งร่วมพัฒนาโดยอาจารย์อรรถวุฒิ วงศ์ประดิษฐ์ อาจารย์จากภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 14 รางวัลๆ ละ 35 ชุด เป็นเกมส์คณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงเรขาคณิต และมิติสัมพันธ์ ผ่านการแข่งขันภายใต้เวลาและเงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ที่กำหนด อีกทั้งชุดเกมส์นี้ยังสามารถเป็นจุดเริ่มต้นการตอบปัญหาเฉพาะทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีทางอุปนัยที่มีผลเฉลยมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ตลอดจนสามารถใช้ขยายผลสู่การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ได้
2) รางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ รุ่น XYZprinting da Vinci Mini Wifi Plus จำนวน 14 เครื่อง โดยการสนับสนุนจาก บริษัท XYZPrinting (ประเทศไทย) จำกัด
หลักเกณ์การส่งผลงาน
เมื่อโรงเรียนได้รับชุดสื่อการเรียนรู้ฯ แล้ว จะต้องเข้าไปศึกษาการใช้สื่อจากบทเรียนออนไลน์ จำนวน 6 บทเรียน (ไม่จำกัดเวลา) โดยบทเรียนได้แนะนำแนวทางการประยุกต์ใช้สื่อโคมไฟลูกบาศก์ การประกอบชุดสื่อ การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ การใช้โปรแกรมการออกแบบ รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนสามารถประยุกต์เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้
การส่งผลงานเข้ารับรางวัล แต่ละโรงเรียนสามารถเลือกส่งผลงานได้เพียง 1 กลุ่มรางวัลเท่านั้น
1) กลุ่มรางวัลสื่อการสอนคณิตศาสตร์
ผลงานที่ต้องส่ง “แผนการจัดการเรียนรู้จากชุดสื่อโคมไฟลูกบาศก์จากเครื่องพิมพ์สามมิติในชั้นเรียน” โดยให้รวมอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกันแล้วทำการบีบอัดไฟล์ การตั้งชื่อไฟล์ให้ตั้งตามลำดับที่ ชื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษา ตามประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อฯ จากนั้นอัปโหลดวิดีโอคลิปลงในยูทูป (YouTube) โดยตั้งค่าให้เป็นสาธารณะและนำส่งผลงานมาในฟอร์มส่งผลงานที่ลิงก์ https://forms.gle/JM1pmKUeFpQrsu6c9
รายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย หัวข้อดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. สาระการเรียนรู้
4. รูปแบบการสอน/วิธีการสอน
5. การจัดกระบวนการเรียนรู้
6. การวัดและการประเมินผล
ทั้งนี้ โรงเรียนจะต้องส่งแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมแนบภาพประกอบของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นจริงในชั้นเรียนมาประกอบด้วย รวมทั้งหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน
เกณฑ์การตัดสิน (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
หัวข้อ |
รายละเอียด |
คะแนน |
1. รูปแบบ วิธีการสอน และการจัดกระบวนการเรียนรู้ |
1.1 ใช้ชุดสื่อโคมไฟลูกบาศก์จากเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสื่อ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน |
20 |
2. การวัดและประเมินผล |
2.1 ความสอดคล้องกับจุดประสงค์และสาระการเรียนรู้ |
20 |
3. วิดีโอคลิปขณะจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยชุดสื่อโคมไฟลูกบาศก์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ (ความยาวไม่เกิน 3 นาที) |
3.1 รูปแบบการนำเสนอและความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ |
10 |
2) กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ
ผลงานที่ต้องส่ง โมเดล 3 มิติ ที่ออกแบบด้วยโปรแกรม Onshape เท่านั้น โดยทำการ Export แต่ละ Part ออกมาให้เป็นนามสกุล STL ไฟล์ (ใน Assembly ให้ Export เป็น STL ไฟล์เช่นกัน) จากนั้นให้รวมอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกันแล้วทำการบีบอัดไฟล์ การตั้งชื่อไฟล์ให้ตั้งตามลำดับที่ ชื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษา ตามประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อฯ พร้อมคลิปอธิบายรายละเอียดประกอบผลงานการออกแบบตามเกณฑ์การตัดสิน (ความยาวไม่เกิน 3 นาที) แนบมาด้วย จากนั้นอัปโหลดวิดีโอคลิปลงในยูทูป (YouTube) โดยตั้งค่าให้เป็นสาธารณะ และนำส่งผลงานมาในฟอร์มส่งผลงานที่ลิงก์ https://forms.gle/JM1pmKUeFpQrsu6c9
*** เงื่อนไขในการออกแบบ
โมเดล 3 มิติ ที่ออกแบบมานั้น จะต้องมีการใช้ชุดควบคุมไฟ LED เป็นส่วนประกอบหลัก // ตอนออกแบบจะมีหรือไม่มีโมเดลชุดควบคุมไฟ LED ก็ได้ แต่ตอนนำไปใช้งานจริง จะต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบรวมอยู่ด้วย และได้ถูกใช้งานจริง และเขียนรายละเอียดประกอบผลงานการออกแบบตามเกณฑ์การตัดสินแนบมาด้วย
รายละเอียดของผลงาน
1. รอบคัดเลือก คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกผลงานที่โดดเด่น เพียง 20 ทีม จากผลงานที่ส่งเข้ามาทั้งหมด
2. รอบตัดสิน ผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ ผ่านระบบ Zoom
โดยมีหัวข้อการนำเสนอและเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
เกณฑ์การตัดสิน รอบคัดเลือก (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
หัวข้อ |
รายละเอียด |
คะแนน |
1. ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบโมเดล 3 มิติ |
1.1 โมเดลมีความสวยงาม |
10 |
2. หลักการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการออกแบบผลงาน |
2.1 มีหลัก/ ทฤษฎีหรือวิธีการคิดที่เป็น STEM ศึกษา |
20 |
3. เป้าหมายของผลงาน |
3.1 การนำผลงานไปประยุกต์ใช้หรือใช้ประโยชน์ต่างๆ |
5 |
4. ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นระหว่างออกแบบผลงาน |
4.1 อุปสรรคและการแก้ปัญหาระหว่างออกแบบผลงาน อาทิ ความรู้พื้นฐานการออกแบบสามมติ ทักษะการใช้โปรแกรมออกแบบสามมิติ เป็นต้น |
5 |
5. แผนการนำเครื่องพิมพ์สามมิติไปใช้ประโยชน์ |
5.1 หากได้รับรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ จะนำไปประยุกต์กับการเรียนการสอนภายในโรงเรียนอย่างไรบ้าง |
10 |
เกณฑ์การตัดสิน รอบตัดสิน (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
หัวข้อ |
รายละเอียด |
คะแนน |
1. ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบโมเดล 3 มิติ |
1.1 โมเดลมีความสวยงาม |
10 |
2. บรรยายถึงผลงานที่ได้ออกแบบมา |
2.1 ทักษะในการเล่าเรื่องของนักเรียน |
10 |
3. หลักการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการออกแบบผลงาน |
3.1 มีหลัก/ ทฤษฎีหรือวิธีการคิดที่เป็น STEM ศึกษา |
15 |
4. เป้าหมายของผลงาน |
4.1 ผลงานสามารถนำไปใช้งานได้จริง |
5 |
5. ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นระหว่างออกแบบผลงาน |
5.1 ทักษะการนำเสนอและตอบคำถาม |
5 |
6. แผนงานที่จะทำต่อ |
6.1 ทักษะการนำเสนอและตอบคำถาม |
5 |
ระยะเวลาการส่งผลงานทั้งสองกลุ่มเข้าชิงรางวัล
– ส่งผลงาน ระหว่างวันที่ 1 – 10 กันยายน 2565 *
– โรงเรียนสามารถเลือกส่งผลงานได้เพียง 1 กลุ่มรางวัลเท่านั้น
– นำวิดีโอคลิป (คุณภาพอย่างน้อย 720p) อัปโหลดลงในยูทูป (YouTube) โดยตั้งค่าให้เป็นสาธารณะ และนำส่งผลงานมาในฟอร์มส่งผลงานที่ลิงก์: https://forms.gle/JM1pmKUeFpQrsu6c9
* ขยายระยะเวลาการส่งผลงานเป็นระหว่างวันที่ 1 – 24 กันยายน 2565
การส่งผลงานทั้งสองกลุ่มเข้าชิงรางวัลกำหนดการประกาศผลและมอบรางวัล **
1) กลุ่มรางวัลสื่อการสอนคณิตศาสตร์: ประกาศผล วันที่ 20 กันยายน 2565
2) กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: ประกาศผลรอบคัดเลือก วันที่ 20 กันยายน 2565
2.1) 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก นำเสนอผลงาน (ทีมละ 15 นาที): วันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 9:00 – 17:00 น.
2.2) ประกาศผลรอบตัดสิน กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: วันที่ 30 กันยายน 2565
** กำหนดการประกาศผลและมอบรางวัล (ขยายระยะเวลา)
1) กลุ่มรางวัลสื่อการสอนคณิตศาสตร์: ประกาศผล วันที่ 29 กันยายน 2565
2) กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: ประกาศผลรอบคัดเลือก วันที่ 29 กันยายน 2565
2.1) 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก นำเสนอผลงาน (ทีมละ 15 นาที): วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 9:00 – 17:00 น.
2.2) ประกาศผลรอบตัดสิน กลุ่มรางวัลเครื่องพิมพ์สามมิติ: วันที่ 7 ตุลาคม 2565
ดูรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบและได้รับรางวัลได้ที่
– เว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/ssh/
– เฟซบุ๊ก บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (Sirindhorn Science Home)
– การมอบรางวัลจะทำการมอบอย่างเป็นทางการในกิจกรรมสำคัญของหน่วยงาน (หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม)
กรณีมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม เกี่ยวกับข้อมูลชุดสื่อโคมไฟฯ บทเรียนออนไลน์ หรือการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถเข้า กลุ่มไลน์ (scan QR Code) โดยจะมีวิศวกร นักวิชาการและทีม คอยตอบข้อซักถาม |
หมายเหตุ : ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาดและสิ้นสุด ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตามจะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของ สวทช. โดยมีสิทธิ์ที่จะทำซ้ำ เผยแพร่ หรือดัดแปลงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานหรือผู้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการของ สวทช. ตามโอกาสต่าง ๆ ต่อไป
การจัดส่งชุดสื่อคณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และการเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ อยู่ระหว่างการจัดส่งชุดสื่อฯ ให้กับโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 189 โรงเรียน โดยท่านสามารถตรวจสอบเลขทะเบียนควบคุมการส่งพัสดุ (EMS) ได้ดังไฟล์ที่ปรากฎ ทั้งนี้ทุกท่านสามารถเข้าศึกษาการใช้อุปกรณ์และชุดสื่อฯ จากบทเรียนออนไลน์ จำนวน 6 บทเรียน โดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนผู้ที่มีความสนใจ ซึ่งจะเปิดให้เข้าศึกษาได้ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ที่ https://www.nstda.or.th/ssh/vdo-learning.html
ทะเบียนควบคุมการส่งพัสดุ (EMS)
ดาวน์โหลด คลิก
วิธีเข้าบทเรียน
สอบถามข้อมูลบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ตามที่ โครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเครือข่ายกิจกรรมเพื่อทำการขยายผลการใช้สื่อและสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีความสนใจนำชุดสื่อดังกล่าวไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลงมือวางแผนและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผ่านบทเรียนออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน โดยมีรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โรงเรียนละ 1 ชุด ดังต่อไปนี้
ดาวโหลดไฟล์ประกาศรายชื่อได้ที่ : https://www.nstda.or.th/ssh/images/65TrainingCourse/Announcing_schools_for_the_kit.pdf
✅ สื่อการเรียนรู้นี้เหมาะสำหรับ 👨🔬👩🔬 นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
✅ สิ่งที่โรงเรียนจะได้รับ
1.ชุดสื่อการเรียนรู้ “โคมไฟแถบแสง LED” ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โรงเรียนละ 1 ชุด
2.บทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเข้าศึกษาได้ไม่จำกัด เวลา สถานที่ https://www.nstda.or.th/ssh
📢 หมดเขตการรับสมัครภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 นี้ 🚩
📢 แจ้งผลการพิจารณาส่งมอบชุดสื่อฯ วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ทางเว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/ssh
✅ ส่งผลงานชิงรางวัล
สำหรับโรงเรียนที่ส่งผลงานการใช้สื่อการสอนมาให้ สวทช. และผ่านการคัดเลือก ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จำนวนเครื่อง 14 เครื่อง (โรงเรียนละ 1 เครื่อง)
📢 แจ้งเกณฑ์การคัดเลือกและผลการตัดสินรางวัลเร็วๆ นี้ ทางเว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/ssh
===============================================================
✍️สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวปรมาภรณ์ จูฑะจันทร์ 📧 e-mail : poramaporn@nstda.or.th ☎ โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77226