Plant Cloning by Tissue Culture

   แนวทางการดำเนินกิจกรรม
          การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศวิธีหนึ่ง สามารถทำได้โดยนำชิ้นส่วนของพืชได้แก่ ลำต้น ยอด ตาข้าง ดอก ใบ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมในเรื่องของความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้น สามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ที่มีสารพันธุกรรมแบบเดียวกัน และสามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้
          ในกิจกรรมนักเรียนจะได้เรียนรู้และลงมือทำตั้งแต่การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยง การเตรียมเนื้อเยื่อ การฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อ การตัดแต่งและย้ายเนื้อเยื่อที่ฟอกแล้วลงบนอาหารเพาะเลี้ยง จนถึงการย้ายต้นกล้าที่เกิดจากระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงในวัสดุปลูก เพื่ออนุบาลและเพาะชำในแปลงปลูกต่อไป
          กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรเฉพาะทางที่ออกแบบให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากบทเรียนปกติในห้องเรียน โดยการบรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และการฝึกปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมอบรมจะถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม และกิจกรรมจะแบ่งเป็น 4 ฐาน แต่ละฐานกิจกรรมจะมีนักวิชาการ/นักวิจัยพี่เลี้ยงดูแลกลุ่มละ 1-5 คน แล้วแต่กิจกรรม โดยการอบรมใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

   สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากกิจกรรม
          1. นักเรียนได้รับความรู้พื้นฐานและมีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
          2. นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้องในระดับอุดมศึกษา เพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางการเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย 

   กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 แผนวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 คน/ครั้ง

   ระยะเวลา : กิจกรรม 1 วัน

   ค่าใช้จ่าย : 1,700 บาท/คน (ราคาไม่รวม vat) *ค่าใช้จ่ายรวมค่าสารเคมี วัสดุสิ้นเปลือง เอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 

   สนใจจัดกิจกรรมสอบถามข้อมูล 0 2564 7000 ต่อ 77113 (คุณกรรณาภรณ์) e-mail : kannaporn.suc@nstda.or.th และต่อ 77249 (คุณจันทิรา)    e-mail : juntira.pun@nstda.or.th  

Share:

Facebook
Twitter