การทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนัง
(In vitro skin irritation test)​

โครงสร้างของแบบจำลองชั้นหนังกำพร้าที่ใช้ในการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนัง

ปัจจุบันการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนังของผลิตภัณฑ์ หรือสารเคมี โดยไม่ต้องใช้สัตว์ทดลอง สามารถทำได้โดยการใช้แบบจำลองเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นนอก (Reconstructed human Epidermis; RhE) สร้างขึ้นจากเซลล์ผิวหนังที่มีชีวิตและมีโครงสร้างสามมิติ (3D) แบบเดียวกับชั้นหนังกำพร้าของมนุษย์ ซึ่งแบบจำลองนี้ผ่านการยอมรับความใช้ได้โดย The European Centre for the Validation of Alternative Methods (ECVAM) ใช้ในการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนังตาม OECD TG 439 โดยประเมินผลจากค่าร้อยละการมีชีวิตรอดของเนื้อเยื่อผิวหนัง (tissue viability) หลังจากได้รับสัมผัสสารทดสอบ ซึ่งสามารถใช้บอกแนวโน้มการก่อการระคายเคืองของสารดังกล่าวได้ตาม UN GHS [1]

[1] OECD (2020), OECD Guideline for the Testing of Chemicals No. 439: In vitro skin irritation: reconstructed human epidermis test method.