การสมัครรับทุน
เกณฑ์การพิจารณาเพื่อคัดเลือกข้อเสนอโครงการรับทุน
ก่อนยื่นใบสมัครเพื่อขอรับทุนจากโครงการนั้น นักวิจัย สวทช. อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักศึกษา ควรพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้
- นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย จะต้องมีความพร้อมด้านสถานที่ทำวิจัย และทุนวิจัยรองรับให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
- นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมดูแลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหัวข้อที่นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยมีความสนใจร่วมกันและได้ยื่นเสนอเพื่อขอรับทุน
- นักวิจัยและอาจารย์จะต้องมีการหารือในความร่วมมือทำวิจัยตามโครงการที่เสนอไว้ทั้งก่อนหน้าและในช่วงตลอดระยะรับทุนของนักศึกษาผู้ได้รับทุน
- นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องยอมรับร่วมกันที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และดูแล นักศึกษาผู้ได้รับทุนไปจนกว่ากศึกษาผู้รับทุนจะสำเร็จการศึกษา
เกณฑ์การพิจารณาเพื่อคัดเลือกข้อเสนอโครงการรับทุน
หัวข้อพิจารณา | ความหมายของหัวข้อพิจารณา | ลำดับความสำคัญ |
1. หัวข้องานวิจัยตรงกับ เป้าหมายของ สวทช. | เป็นงานวิจัยที่ตรงกับเป้าหมายการพัฒนา ของ สวทช. | มากที่สุด |
2. ศักยภาพของ อาจารย์ที่ปรึกษา | มีผลงานวิจัยและ มีความร่วมมือกับนักวิจัย สวทช. โดยดู track record ของอาจารย์ | มากที่สุด |
3. ศักยภาพของ นักวิจัย สวทช. | มีผลงานวิจัยและมีความร่วมมือกับอาจารย์ มหาวิทยาลัย โดยดู track record ของนักวิจัย | มากที่สุด |
4. ความร่วมมือกันระหว่าง อาจารย์และนักวิจัย | นักวิจัยและอาจารย์ควรมีความสนใจในงานวิจัย ร่วมกันอย่างแท้จริง | มาก |
5. จำนวนนักศึกษาทุน TGIST ที่นักวิจัยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ | หากมีนักศึกษาในความดูแลมากจะทำให้ ประสิทธิภาพการดูแลนักศึกษาลดลง ปกติควรมีนักศึกษาไม่เกิน 3 คน | มาก |
6. ศักยภาพนักศึกษา | เป็นนักศึกษาที่มีศักยภาพการทำวิจัยดี และพิจารณา รับนักศึกษาจากโครงการสร้างปัญญาวิทย์ ผลิตนักเทคโน (ทุน YSTP) เป็นพิเศษ | ปานกลาง |
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการสมัครและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
www.nstda.or.th/tgist/ ในช่วงเปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการ