การสมัครรับทุน
คุณสมบัติของอาจารย์
ก่อนยื่นใบสมัครเพื่อขอรับทุนจากโครงการนั้น นักวิจัย สวทช. อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักศึกษา ควรพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้
- นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย จะต้องมีความพร้อมด้านสถานที่ทำวิจัย และทุนวิจัยรองรับให้กับนักศึกษา
ที่เข้าร่วมโครงการ - นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมดูแลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
ในหัวข้อที่นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือและสนใจด้านงานวิจัยร่วมกันและได้ยื่นเสนอเพื่อขอรับทุน - นักวิจัยและอาจารย์จะต้องมีการหารือในความร่วมมือทำวิจัยตามโครงการวิจัยที่เสนอไว้ทั้งก่อนหน้าและในช่วงตลอดระยะรับทุนของนักศึกษาผู้ได้รับทุน
- นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องยอมรับร่วมกันที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และดูแล นักศึกษาผู้ได้รับทุนไปจนกว่านักศึกษาผู้รับทุนจะสำเร็จการศึกษา
คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
- เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
- เป็นผู้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยปรากฎผลงานวิจัยใน 5 ปีหลัง และมีงานวิจัยที่มีความร่วมมือกับนักวิจัย สวทช. อย่างแท้จริง
- เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและควบคุมดูแลการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาร่วมกับนักวิจัย สวทช. จนกว่าผู้ได้รับทุนจบการศึกษา
- รับผิดชอบเรื่องสถานที่ในมหาวิทยาลัยที่จะให้ผู้ได้รับทุนมาทำวิจัยให้คำรับรองและประเมินผลรายงานความก้าวหน้าการศึกษาวิจัยของผู้รับทุนทุก 6 เดือน จนกว่า ผู้ได้รับทุนจะสำเร็จการศึกษา
- ให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ได้รับทุนอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และช่วยให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระหว่างรับทุน
- สนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่ดีในการศึกษาวิจัย รับฟังความคิดเห็น และให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์ให้กับผู้ได้รับทุน
- อาจารย์ที่ปรึกษาผู้ร่วมโครงการฯ ไม่ควรมีนิสิต/นักศึกษาผู้ได้รับทุนของโครงการฯ ในความดูแลเกินกว่า 3 คนในเวลาเดียวกัน หรืออาจพิจารณายกเว้นเป็นรายกรณี ตามความเหมาะสมต่อไป
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการสมัครและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.nstda.or.th/tgist/ ในช่วง
เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการ