Pitching

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับเคลือบบรรจุภัณฑ์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ห่อหุ้มอาหารส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพียงห่อหุ้มอาหาร ไม่ได้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบูดเน่า การใช้สารสเปรย์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียมาประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้ ที่ผ่านมามีผู้ศึกษาการเคลือบฟิล์มหลายผลงาน เช่น สเปรย์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืช สารละลายซิลเวอร์ไนเตรต ฯลฯโดยสารสกัดจากพืชนี้คือ สารสกัดกากกาแฟ หรือสารสกัดใบอ้อย ฯลฯ แต่มีข้อเสียคือ ยังไม่มีการนำมาทำเป็นพิล์มเคลือบบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการทดสอบอาหาร หรืออนุสิทธิบัตร 2103001851 ฟิล์มคอมโพสิตออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ประกอบด้วยสารผสม กลีเซอรอล สารละลายซิลเวอร์ไนเตรต ฯลฯ ซึ่งสารผสมนี้มีส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลัง และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ละลายในสารสกัดใบอ้อย แต่ก็ยังมีข้อเสียคือ ต้องขึ้นรูปหลายขั้นตอน และยังไม่มีการนำมาทำเป็นฟิล์มสำหรับเคลือบบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่มีมาก่อน ผู้ประดิษฐ์จึงพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อใช้เคลือบบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยวิธีสเปรย์เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

จุดเด่นของเทคโนโลยี :

  • ลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โดยทดสอบกับเชื้อ E.Coli พบว่า เมื่อระยะเวลา 3 วัน เชื้อ E.Coli บนผิวมะเขือเทศในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้เคลือบสารนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น 262.5% เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ที่เคลือบด้วยสารนี้
  • ค่า pH ที่แสดงถึงการเน่าเสียของอาหาร พบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีการเคลือบสารชีวภาพนี้มีการเปลี่ยนแปลงค่า pH ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงแรก ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่เคลือบด้วยสารชีวภาพนี้มีค่า pH เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยภายหลังการเก็บรักษาที่ 4 ชม.แรก

ความร่วมมือที่เสาะหา :

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา :

คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303001461 ยื่นคำขอวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ :

ได้ต้นแบบระดับ pilot scale

เงื่อนไข :

เทคโนโลยีต่อรองราคา

นักวิจัย :

รศ.ดร.พรนภา เกษมศิริ
และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สนใจสอบถามข้อมูล :

จินดาพร พลสูงเนิน

โทรศัพท์: 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ: 0864514455
Email: chinph@kku.ac.th

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น