Pitching
Nano Cool Paint สีทาภายนอกเพื่อลดอุณหภูมิพื้นผิว
Investment Pitching – Nano Cool Paint : สีทาบ้าน ลดอุณหภูมิ
โดย ดร.ศรัณย์ อธิการยานันท์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากภาวะโลกร้อนและค่าพลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้น เทคโนโลยีการทำความเย็นด้วยตัวเอง (passive cooling) จึงสามารถนำมาใช้เพื่อลดปริมาณพลังงานที่ใช้ในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม สีทาเพื่อการลดอุณหภูมิพื้นผิวทางรังสี (radiative cooling paints) สำหรับใช้ทาภายนอกอาคารและสิ่งก่อสร้างเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ลดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศนี้ได้ แม้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สีทาภายนอกหลากหลายที่สามารถลดอุณหภูมิพื้นผิวได้แต่ยังคงมีปัญหาการดูดแสงยูวีที่เป็นส่วนหนึ่งของความร้อนจากดวงอาทิตย์ซึ่งเกิดจากการใช้ส่วนผสมของไททาเนียมไดออกไซด์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังมีประสิทธิภาพการระบายความร้อนออกมาในรูปแบบรังสีที่น้อยส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำความเย็นที่ต่ำ งานวิจัยนี้จึงคิดค้นสีทาภายนอกเพื่อการลดอุณหภูมิพื้นผิวที่ถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสะท้อนแสงอาทิตย์ในทุกช่วงความยาวคลื่นและการแผ่รังสีความร้อน สีทานี้สามารถลดอุณหภูมิพื้นผิวได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์สีทั่วไปถึง 4 องศาเซลเซียส ใช้งานได้ง่ายเหมือนสีทาบ้านทั่วไป และใช้ส่วนประกอบที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นของเทคโนโลยี :
- สะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างน้อยร้อยละ 92 และแผ่รังสีความร้อนได้อย่างน้อยร้อยละ 95
- ลดอุณหภูมิพื้นผิวได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์สีทั่วไปถึง 4 องศาเซลเซียส จากการทดสอบกลางแจ้งเสมือนการใช้งานจริง
- ใช้งานได้เหมือนสีทาบ้านทั่วไปและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา :
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา :
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001235 ยื่นคำขอวันที่ 19 พฤษภาคม 2565
สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ :
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข :
เทคโนโลยีต่อรองราคา
นักวิจัย :
ดร.ศรัณย์ อธิการยานันท์
ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ NANOTEC
สนใจสอบถามข้อมูล :
จิรนันท์ บุบผามาลา
โทรศัพท์: 025647000 ต่อ 1616
Email: tlo-ipb@nstda.or.th
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2024 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ