สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น (สาร BeThEPS)
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
นายสุริยกมล มณฑา
นางสาวนันทินา มูลประสิทธิ์
นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล
นายทิพย์จักร ณ ลำปาง
นางฉวีวรรณ คงแก้ว
นายสุรพิชญ ลอยกุลนันท์
หน่วยงาน
ทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยาง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
สถานภาพสิทธิบัตร
1. ความลับทางการค้า เรื่อง สูตรสารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น เลขที่ TS60MT00104
2. ความลับทางการค้า เรื่อง กระบวนการผลิตสารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น เลขที่ TS60MT00105
รหัสโครงการ
TT-2560-153
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำยางสดที่กรีดได้จากต้นยางพาราจะคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้เพียงระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ผิวของอนุภาคยางและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียโดยใช้สารอาหารในน้ำยางสด ทำให้อนุภาคยางรวมตัวกันเป็นก้อน เกิดบูดเน่ามีกลิ่นเหม็น ส่งผลทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำยางสดไปแปรรูปเป็นยางแผ่นได้ ปัญหาการเสียสภาพของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่นจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากในพื้นที่กรีดยางที่ห่างไกลจากจุดแปรรูป/จุดรับซื้อน้ำยาง หรือมีความลำบากในการขนส่งน้ำยางสด ต้องใช้เวลานานในการขนส่งน้ำยางสดไปยังจุดแปรรูป/จุดรับซื้อน้ำยางปัจจุบันเกษตรกรใช้แอมโมเนีย หรือ โซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก) เพื่อช่วยยืดอายุน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น แต่แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุน เป็นพิษต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ส่วนโซเดียมซัลไฟต์ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้การจับตัวน้ำยางสดทำได้ยาก และเกิดฟองอากาศในแผ่นยาง ส่งผลทำให้ยางแผ่นมีราคาถูกลง
สรุปเทคโนโลยี
สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น(สาร BeThEPS) สามารถใช้ทดแทนแอมโมเนีย หรือ โซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากต้องการยืดอายุน้ำยางสดเป็นระยะเวลา 12, 36 และ 60 ชั่วโมง ก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น ควรใช้สาร BeThEPS ในปริมาณ2 กรัม, 4 กรัม และ 8 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำยางสด ตามลำดับ ยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ผ่านการรักษาสภาพด้วยสาร BeThEPS ได้รับการจัดชั้นคุณภาพยางเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 และลดปริมาณยางตกชั้นลงได้ถึงร้อยละ 9 ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าจากการขายยางแผ่นรมควันให้กับเกษตรกรได้ และยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ผ่านการรักษาสภาพด้วยสาร BeThEPS มีสมบัติทางกายภาพ สมบัติการคงรูป และสมบัติความแข็งแรงเชิงกล ใกล้เคียงกับยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ไม่ได้ใช้สารรักษาสภาพน้ำยาง
จุดเด่นของเทคโนโลยี
• สาร BeThEPS มีลักษณะเป็นของเหลวทำให้ผสมเข้ากับน้ำยางสดได้ง่าย
• ปริมาณการใช้ 2-4 กรัม/กิโลกรัมน้ำยางสด
• ยืดอายุของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่นได้นาน 1-3 วัน(ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้สาร BeThEPS)
• ลดความเสี่ยงต่อการเสียสภาพของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น
• ลดความถี่ในการขนส่งน้ำยางสดมายังจุดแปรรูปยางแผ่น
• แผ่นยางจับตัวรีดง่าย และขึ้นลายดอกได้ชัดเจน
• เพิ่มปริมาณการผลิตยางแผ่นรมควันคุณภาพดีได้มากขึ้น (เพิ่มสัดส่วนปริมาณยางแผ่นรมควันชั้น 3 ต่อ ปริมาณยางแผ่นรมควันชั้น 4)
• ลดปริมาณยางตกเกรดลงได้
เพิ่มเติม
สนใจผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ :

1. บริษัท เอ็ม ไอ อินเตอร์ จำกัด ติดต่อคุณ ธิดารัตน์ 089 499 4222 (กรุงเทพ)
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด วัน พารา เอ็นจิเนียริ่ง ติดต่อ คุณ ศุภกัญจน์ เหลืองอ่อน 0877662030 (น่าน/ชลบุรี)
3. นางสาวพิมพลอย วิสิฐธนาอังกูร ซึ่งได้ประกอบพาณิชยกิจ ชื่อ “อินเทลลิเจ้น รับเบอร์ อินโนเวชั่น” 093-456-2695
4. บริษัท อิคคิว เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด คุณ คิว 091-789-5295
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 02564 7000 ต่อ 1617
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th