สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.สุวิมล สุรัสโม และคณะ |
|
หน่วยงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ไขอ้อย หรือ Sugarcane wax เป็นไขมันที่ได้จากการสกัดสารกากหม้อกรอง ซึ่งเป็นของเหลือที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการหีบอ้อย เพื่อให้ได้น้ำอ้อยออกมาใช้ต่อในกระบวนการผลิตต่างๆ ทำให้ในกระบวนการผลิตน้ำอ้อยนั้นมีส่วนชองไขอ้อยซึ่งเป็น by product ออกมาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งไขอ้อยที่ได้จากกากหม้อกรองนี้เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ จากการสืบค้นพบว่า ไขอ้อยนี้มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้ในเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยาและเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเป็นการนำไขอ้อยที่จากกระบวนการสกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบทางการเกษตร โดยการนำเอาไขอ้อยที่ได้จากกระบวนการสกัดกากหม้อกรองที่เหลือทิ้งจากโรงงานผลิตน้ำตาล มาปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการเตรียมอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์ (Nanostructure lipid carriers, NLC) เพื่อกักเก็บสารสำคัญคือ สารสกัดคาเทชิน และสารเรสเวอราทอล เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านของการนำส่งสารทางผิวหนัง (Topical delivery system) |
สรุปเทคโนโลยี การพัฒนาอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์จากไขอ้อย ((Sugarcane wax Nanostructure lipid carrier (Sugarcane-NLC)) เพื่อการนำส่งสารสกัดคาเทชิน ร่วมกับสารเรสเวอราทอล โดยจากงานวิจัยนี้ทำให้ได้อนุภาคนำส่งแบบคู่ควบที่สามารถกักเก็บสารสำคัญได้ 2 ชนิด โดยอนุภาคนาโนช่วยเพิ่มความสามารถในการกักเก็บ ควบคุมการปลดปล่อยได้ยาวนานถึง 24 ชั่วโมง และมีการทดสอบการซึมผ่านผิวหนังโดยพบว่าอนุภาครนาโนที่พัฒนานี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมผ่านผิวหนังของสารสำคัญได้ จนเกิดเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่บำรุงผิวกาย โดยเฉพาะด้านการบำบัดและฟื้นฟูสภาพผิว ในรูปแบบทาสำหรับป้องกันความผิดปกติของผิวหนังที่อาจจะเกิดขึ้น (Skin disorder) จากแสงแดด งานวิจัยและพัฒนานี้มีการประยุกต์ทั้งด้านการแปรรูปกากวัสดุเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์ ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บ และระบบนำส่งทางผิวหนัง สามารถก่อเกิดเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทางยา เภสัชภัณฑ์ และเวชสำอางค์ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ต่อภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้ |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 025627000 ต่อ 1616 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |