สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร. ฐานิศร มหัตนิรันดร์กุล |
|
หน่วยงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
สถานะงานวิจัย เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา พลูคาว (Plu Kaow) เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ มีลักษณะเด่นคือต้นมีกลิ่นคาว มีสรรพคุณในตําหรับยาไทย จึงนิยมใช้เป็นพืชสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากสารต่างๆ ที่พบในพลูคาวมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ในการต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น เนื่องจากพลูคาวมีสารกลุ่มฟีนอลิค (Phenolic) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นองค์ประกอบหลัก ถึงแม้ว่าสารสกัดพลูคาวจะสามารถละลายน้ำได้ดี แต่ปัญหาหลักที่พบ คือ ความไม่คงตัวของสารสำคัญจากสภาพแวดล้อม ทำให้อาจต้องใช้สารปริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเป็นพิษต่อร่างกายได้ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีนำส่งระดับนาโน (Nanoencapsulation Technology) เข้ามาช่วย จะสามารถทำให้นำสารสกัดพลูคาวมาเตรียมให้อยู่ในรูปแบบที่มีความคงตัวและลดความเป็นพิษของสารสกัดลงได้ และทำให้นำไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น |
สรุปเทคโนโลยี อนุภาคนาโนกักเก็บสารสกัดพลูคาวที่เตรียมขึ้นทั้ง 2 รูปแบบ คือ ลิโปโซม (Liposome) และทรานส์เอทโธโซม (Transethosome) ทำให้สารสกัดพลูคาวมีความคงตัวที่ดีขึ้น และไม่สลายไปเมื่อพบกับสภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น ความร้อน แสงแดด อากาศ โดยอนุภาคที่ได้เตรียมจากกลุ่มไขมัน/ไขมันเหลวที่สามารถเข้ากันได้กับร่างกาย (biocompatible) ที่ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดพลูคาวลงได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดพลูคาวเอง นอกจากนี้ ผลการทดสอบพบว่า เมื่อนำสารสกัดพลูคาวมากักเก็บในอนุภาคดังกล่าว ได้อนุภาคที่มีความคงตัวดี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างจากสารสกัดอีกด้วย รวมถึงยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การนำสารสกัดพลูคาวมากักเก็บในอนุภาคนาโน ทำให้สามารถนำอนุภาคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการนำสมุนไพรของไทยที่มีประโยชน์มาเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย |
สนใจสอบถามข้อมูล คุณบุษรินทร์ ตานะ งานพัฒนาธุรกิจ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โทรศัพท์: 025647100 ต่อ 6503 E-mail: bootsarin.tan@nanotec.or.th |