สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต คุณกรรณิกา หัตถะปะนิตย์ คุณกฤตพร อุตรา และ คณะ |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001002221 ยื่นคำขอวันที่ 21 เมษายน 2563 คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001002217 ยื่นคำขอวันที่ 21 เมษายน 2563 คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801006042 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2561 ความลับทางการค้า |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา จากสถานการณ์ที่ยางพารา (ยางธรรมชาติ) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย มีราคาผันผวนตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการรักษาเสถียรภาพราคายางจึงมีการวิจัยและคิดค้นให้สามารถนำยางพารามาใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในมุมมองใหม่ ๆ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของไวรัส ส่งผลให้ผู้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยมีการใช้ชีวิตอยู่กับบ้านและใส่ใจสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กและผู้สูงวัย ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ของเล่นเด็ก จึงได้รับความต้องการเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดของเล่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การผลิตของเล่นเด็กจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง ยางแผ่น เป็นต้น มีการนำองค์ประกอบที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศมาใช้ในการผลิต จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงและมีต้นทุนต่ำ การนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในการผลิตเป็นของเล่นเด็กนอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการแปรรูปยางธรรมชาติซึ่งเป็นทางออกหนึ่งในการช่วยลดปัญหาปริมาณยางล้นตลาดแล้วยังเป็นการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย |
สรุปเทคโนโลยี - ผลิตจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง ยางแผ่น เป็นต้น - มีองค์ประกอบเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศ - มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีต้นทุนต่ำ และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - เสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1618 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |