สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย นายสมบัติ รักประทานพร นางสาวมัลลิกา กำภูศิริ นางสาวอรวรรณ หิมานันโต นางสาวอรประไพ คชนันทน์ |
|
หน่วยงาน ทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10414 เรื่อง แผ่นแถบสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 เชื้อได้พร้อมกันในคราวเดียว |
|
สถานะงานวิจัย ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip) |
สรุปเทคโนโลยี ชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อโพทีไวรัส เชื้อ WMV-2 และ เชื้อ Aac โดยจะไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกันเอง และไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคพืชชนิดอื่นๆ และมีความไวเพียงพอในการตรวจเชื้อในตัวอย่างพืชเป็นโรคที่เก็บจากแปลงปลูก มีความถูกต้องแม่นยำ ง่าย และสะดวกในการใช้งาน รู้ผลรวดเร็วภายใน 5 นาที แม้หน่วยงานที่ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือก็สามารถตรวจได้และราคาถูก จุดเด่นของเทคโนโลยี 1. ชุดตรวจแบบรวดเร็วที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถตรวจเชื้อก่อโรคพืช 3 เชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip) โดยมีความจำเพาะเจาะจง ความไว และถูกต้องแม่นยำ 2. มีความสะดวกและง่ายในการใช้งาน โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ รู้ผลรวดเร็วภายใน 5 นาที 3. สามารถพกพาไปทดสอบในแปลงปลูกได้ |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 02 564 7000 ต่อ 1357 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |