สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
แสงสูรย์ เจริญวิไลศิริ
ชาญณรงค์ ศรีภิบาล
สมบัติ รักประทานพร
มัลลิกา กำภูศิริ
นุชนาถ วารินทร์
เบญจรงค์ พวงรัตน์
ผกามาศ ชิดเชื้อ
สิริมา ศิริไพฑูรย์
อรประไพ คชนันทน์
หน่วยงาน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001000526 ยื่นคำขอวันที่ 29 มกราคม 2563
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกตั้งแต่ร้อยละ 80-100 พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในทวีปเอเชียมีรายงานครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2499 ที่ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2558 ที่จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา และต่อมาในปีพ.ศ. 2559 ที่จังหวัดเตียนิญ ประเทศเวียดนาม ประเทศ ไทยพบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา ในจังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาพบเพิ่มเติมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สระแก้ว และนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่กระจายมากขึ้น ดังนั้นการตรวจกรองไวรัสในท่อนพันธุ์จะช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ และชะลอการแพร่กระจายของไวรัสลงได้
สรุปเทคโนโลยี
ถูกต้อง แม่นยำ สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก ตรวจเชื้อไวรัสได้จาก ใบยอด ก่นเขียว และ ใบอ่อนจากตาข้าง มีความไวสูงกว่าและราคาถูกกว่าชุดตรวจที่นำเข้า
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1357
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th