สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan
นักวิจัย
นายวินัย ชนปรมัตถ์
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
KidBright Virtual เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนา กระบวนการคิดเชิงตรรกะร่วมกับความคิดสร้างสรรค์สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยี ด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จะจัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหา อุปกรณ์จริง
สรุปเทคโนโลยี
เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลจัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูล เพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน
- KidBright Virtual: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในโปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง
- Virtual Kanomchan: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริงสามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI
สนใจสอบถามข้อมูล
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
โทรศัพท์: 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744
E-mail: business@nectec.or.th