สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.อนุชา วรรณก้อน นายสิทธิศักดิ์ ประสานพันธ์ นายวิทยา ทรงกิตติกุล |
|
หน่วยงาน ทีมวิจัยอีโคเซรามิกและจีโอพอลิเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เรื่อง กรรมวิธีการผลิตกระเบื้องตกแต่งจีโอพอลิเมอร์จากเศษแก้วเลขที่คำขอ1303001077 ยื่นเมื่อ 13 ก.ย. 2556 |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา จีโอโพลีเมอร์เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนเซรามิกส์ได้ในบางประเภท และกำลังได้รับความสนใจในการวิจัยในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง จึงช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตได้มาก โดยในงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนากรรมวิธีการผลิตจีโอโพลีเมอร์ โดยลดการใช้สารเคมีทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และเพิ่มเติมการนำเศษแก้วสีมาทำเป็นลวดลายตกแต่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการกำจัดเศษแก้วแล้ว ยังทำให้กระเบื้องที่ได้มีลวดลาย สวยงาม ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี |
สรุปเทคโนโลยี ผลิตจากดินขาวเผาหรือเมตตะเกาลิน มีโซเดียมซิลิเกตและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำหน้าเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้เกิดโครงสร้างจีโอโพลิเมอร์ ส่วนเศษแก้วหลากสีทำหน้าที่เสมือนมวลรวม (Aggregate) ทำให้มีลวดลายคล้ายลายหิน โดยกระเบื้องนี้มีค่าการดูดซึมน้ำ 15-18% และมีความต้านทานต่อแรงอัด 8-12 MPa |
จุดเด่นของเทคโนโลยี สามารถผลิตได้โดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเผาที่อุณหภูมิสูงเหมือนเซรามิก สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิก ทำเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระเบื้องสำหรับตกแต่งภายในได้ |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 02564 7000 ต่อ 1617 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |