สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย นายปิยวัฒน์ จอมสถาน |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201006111 ยื่นคำขอวันที่ 23 กันยายน 2565 |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา การเรียนรู้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งไม่สามารถอาศัยทฤษฎีเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนต้องลงมือฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานหลักการ และสามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ได้ในสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือความต้องการที่ต่างกัน ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยความหลากหลายของทั้งศาสตร์ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ที่ไม่สามารถสอนกันได้ทั้งหมด ผู้สอนต้องรู้จักออกแบบแนวทางในการสอนที่ครอบคลุมในหลักการและเลือกสรรตัวอย่างที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติต่อยอดเองได้ อุปกรณ์การเรียนการสอนระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรมแบบพกพา จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้เรียน มีความเข้าใจและต่อยอดเองได้ โดยมีข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทั่วไปกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในงานอุตสาหกรรม จึงอยู่ในส่วนของการดึงและเขียนข้อมูลในอุปกรณ์โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ซึ่งมีมาตรฐานต่างกันในแต่ละผู้ผลิต |
สรุปเทคโนโลยี • จุดเด่นเทคโนโลยี o เป็นอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนการสอนที่ใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังมีเอกสารการสอน หรือคู่มือที่สำหรับนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้สอนทางด้าน Industrial IoT ได้ทันที o สามารถนำไปต่อยอดเป็นโครงการ หรือโครงงานทางด้าน Industrial IoT ได้ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี o งานด้าน Smart Factory |
สนใจสอบถามข้อมูล สุรีรัตน์ รัตนสมบูรณ์ งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1619 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |