สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร.อรพรรณ คิง ดร.สกาว ประทีปจินดา |
|
หน่วยงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002432 ยื่นคำขอวันที่ 20 กันยายน 2562 |
|
สถานะงานวิจัย ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา สารสกัดจากบัวบก มีฤทธิ์ที่ดีในการนำไปใช้เป็นสารสำคัญสำหรับเครื่องสำอาง ได้แก่ ฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และป้องกันรังสียูวี เป็นต้น สารสกัดบัวบกที่ใช้ในเครื่องสำอางเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และดูดความชื้นได้ง่าย ส่งผลต่อความคงตัวของสารสกัดและทำให้มีความสามารถในการซึมผ่านผิวหนังได้ไม่ค่อยดีด้วย และยังมีโอกาสส่งผลให้สารสกัดบัวบกมีประสิทธิภาพลดลง เมื่อนำไปใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ดังนั้นจึงมีการนำเทคโนโลยีการห่อหุ้มชนิดลิโพนิโอโซม (lipid-based system) ซึ่งเป็นระบบที่เลียนแบบองค์ประกอบของผิวหนังมนุษย์มาใช้ในการกักเก็บสารสกัดบัวบก เพื่อให้ได้อนุภาคห่อหุ้มสารสกัดบัวบกที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น มีความคงตัวที่ดี มีความสามารถในการคงประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกให้ดี และมีความปลอดภัยในการนำไปใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง |
สรุปเทคโนโลยี อนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดบัวบก (SCENT-LN) มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวพรรณ ได้แก่ มีค่าความเป็นกรด-เบส (pH=6.4) ที่เหมาะสมกับผิวหนังมนุษย์ และง่ายต่อการใช้งาน มีความสามารถในการซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ดีขึ้น (Porcine model) และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ผ่านการทดสอบความคงตัว ตามมาตรฐาน IFSCC และ ISO/TR 18811:2018(E) และผ่านการทดสอบการระคายเคือง (3D- skin model test) จึงมีความปลอดภัยในการนำไปใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากนี้อนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดบัวบกมีต้นทุนที่ลดลง (~6,000 บาท/กก.) ประมาณ 22 เท่า (ราคา/กก.) และปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ในสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าที่วางขายในท้องตลาดแล้ว |
สนใจสอบถามข้อมูล คุณบุษรินทร์ ตานะ งานพัฒนาธุรกิจ (BDV) ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BITT) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) โทรศัพท์: 0 2564 7100 ต่อ 6503 E-mail: bootsarin.tan@nanotec.or.th |