สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.สกาว ประทีปจินดา และคณะ |
|
หน่วยงาน ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
สถานะงานวิจัย ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ว่านเพชรหึงหรือกล้วยไม้ลายเสือ (Tiger Orchid) เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถทนต่อการขาดน้ำและสารอาหารได้เป็นเวลานาน มีอายุยืนยาว จากการวิจัยพบว่าสารสกัดว่านเพชรหึงมีคุณสมบัติในการต้านริ้วรอยและป้องกันการเสื่อมของผิวได้ จึงได้นำสารสกัดว่านเพชรหึงที่ได้มาพัฒนาอยู่ในรูปอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์เพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่านสาวหลงเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางยาและเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย เพื่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ จากการวิจัยพบว่าสารสกัดว่านสาวหลงมีคุณสมบัติในการต้านริ้วรอยได้ จึงได้นำน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลงมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ |
สรุปเทคโนโลยี อนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์กักเก็บสารสกัดจากว่านเพชรหึง มีลักษณะเป็นของเหลวขุ่น สีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น มีความคงตัวที่ดีในทุกสภาวะ ช่วยเพิ่มการกระจายตัวของสารให้ดีขึ้น สามารถใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อช่วยลดริ้วรอยได้ ครีมและเซรั่มบำรุงผิวหน้าผสมอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์กักเก็บสารสกัดจากว่านเพชรหึง และน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลงมีลักษณะสีขาวเป็นเนื้อเดียวกัน เนียนนุ่ม เกลี่ยง่าย ซึมซาบเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ มีความคงตัวทางกายภาพ (อายุการเก็บรักษาประมาณ 2 ปี) ผ่านการทดสอบทางจุลชีววิทยาสำหรับประสิทธิภาพของสารกันเสียในสูตรตำรับตามมาตรฐานสากล ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในอาสาสมัครโดยไม่พบการระคายเคืองในอาสาสมัครจำนวน 66 คน จากการทดลองใช้ครีมและเซรั่มบำรุงผิววันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในอาสาสมัครจำนวน 32 คน พบว่าอาสาสมัครที่ใช้ครีมบำรุงผิวหน้าผสมอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์กักเก็บสารสกัดจากว่านเพชรหึง และน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลงมีริ้วรอยที่ลดลงและสีผิวดูขาวกระจ่างใสขึ้นหลังจากการใช้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ โดยค่าริ้วรอยลดลงร้อยละ 5% และค่าสีผิวลดลง |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 02 564 7000 ต่อ 1616 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |