สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร.วรล อินทะสันตา |
|
หน่วยงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2003000721 เรื่อง หน้ากากจากแผ่นกรองเส้นใยนาโนที่มีสมบัติในการกรองละเอียดและต้านเชื้อจุลชีพ |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กระตุ้นให้ประชาชนได้รับสารพิษและสารก่อภูมิแพ้ กำลังทวีความ รุนแรงมากยิ่งขึ้น การพัฒนาวัสดุกรองละเอียดที่มีสมบัติในการกรองละเอียด และมีความสามารถในการกำจัดเชื้อจุลชีพนั้นจึงมีความสำคัญ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกรองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ในมิติของเทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการประยุกต์ใช้ พบว่ายังขาดเทคโนโลยีการผลิตหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสมบัติในการต้านเชื้อจุลชีพโดยที่ยังสามารถหายใจได้สะดวก ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงคิดค้นวิธีการเตรียมหน้ากากอนามัยจากแผ่นกรองเส้นใยนาโนบนแผ่นรองรับแบบไม่ถักไม่ทอที่เตรียมโดยวิธีอิเล็กโทรสปินนิง (Electrospinning) ที่ซึ่งหน้ากากอนามัยจากแผ่นกรองเส้นใยนาโนตามการประดิษฐ์นี้ มีสมบัติเด่น คือ สามารถกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 3 ไมครอนขึ้นไปได้ตามมาตรฐานสากล และสามารถต้านเชื้อจุลชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังสามารถหายใจได้สะดวก |
สรุปเทคโนโลยี • พัฒนาเทคโนโลยีการกรองโดยขึ้นรูปแผ่นกรองเส้นใยนาโนบนแผ่นรองรับแบบไม่ถักไม่ทอด้วยวิธี อิเล็กโทรสปินนิง (Electrospinning) • แผ่นกรองเส้นใยนาโนบนแผ่นรองรับแบบไม่ถักไม่ทอที่ขึ้นรูปได้ สามารถกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 3 ไมครอนขึ้นไปได้ตามมาตรฐานสากล สามารถต้านเชื้อจุลชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีค่าความต่างของความดันอากาศ (Pressure Drop) ต่ำ ทำให้ลดปัญหาการหายใจลำบากได้ • หน้ากากอนามัยที่พัฒนาขึ้นมาเป็นหน้ากากแบบสามมิติเข้ารูปกับใบหน้า มีสมบัติป้องกันฝุ่นและละอองไอจามระดับสูงเทียบเท่า N95 ต้านเชื้อแบคทีเรียและวัณโรค และหายใจได้สะดวก • หน้ากากอนามัยที่พัฒนาขึ้นมา เหมาะสำหรับช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่น และช่วงระบาดของโรคระบาดทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัดต่างๆ จากไวรัสและแบคทีเรีย ลดการสะสมของเชื้อโรคบนหน้ากากจากสมบัติฆ่าเชื้อ |
สนใจสอบถามข้อมูล สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 02 564 7000 ต่อ 1616 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |