สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์ |
|
หน่วยงาน ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร ระหว่างดำเนินการยื่นจดอนุสิทธิบัตรเลขที่คำขอ 1403000589 เรื่องครีมกันแดดไล่ยุงออกฤทธิ์เนิ่นชนิดกันน้ำ |
|
รหัสโครงการ TT-2558-115 |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ครีมกันแดดไล่ยุง เป็นการพัฒนาสูตรตำรับครีมกันแดดไล่ยุง ออกฤทธิ์เนิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้นานขึ้น จากสารไล่ยุงธรรมชาติที่ควบคุมการปลดปล่อยด้วยเทคโนโลยีจากตัวพาไขมันรูปแบบนาโน และสามารถป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด โดยที่ฤทธิ์ทั้งสองไม่มีผลหักล้างซึ่งกันและกัน วัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์นี้มุ่งเน้นเพื่อความปลอดภัยและมีเหมาะสมต่อผู้ใช้มากเนื่องจากส่วนประกอบที่ใช้เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ สูตรตำรับในการเตรียมครีมนี้ยังสามารถพัฒนาในขั้นอุตสาหกรรมได้ง่าย และต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก นอกจากนั้นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างสารไล่ยุงและสารที่ใช้ป้องกันแสงแดดยังไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทั้งค่า SPF และ ฤทธิ์ในการไล่ยุงอีกด้วย (SPF>15 และปกป้องยุงได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมงจากห้องทดสอบของกองกีฏวิทยาทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) |
สรุปเทคโนโลยี ผลงานนวัตกรรมนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้องค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีมาเพื่อการควบคุมการปลดปล่อยของสารไล่ยุงด้วยเทคนิค Nanostructured lipid carrier (NLC) โดยเทคนิคนี้ช่วยเพิ่มความคงตัวของอนุภาคนาโน และเพิ่มความสามารถในการกักเก็บสารสำคัญได้ในปริมาณที่มากขึ้น โดยทั่วไปอนุภาคนาโนไขมันในรูปแบบ NLC นี้จะสามารถกักเก็บสารสำคัญที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์อีกทั้งยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย NLC นี้เป็นการเตรียมอนุภาคนาโนด้วยไขมันมากกว่า 1 ชนิด ทำให้ได้อนุภาคที่ไขมันอยู่ในรูปอสัณฐาน ทำให้มีพื้นที่ในการบรรจุสารสำคัญได้มากขึ้นเนื่องจากการจัดเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอนุภาคนาโนไขมันมีข้อดีในการนำส่งตัวยาหรือสารสำคัญที่ดีกว่าระบบอื่นๆ คือไขมันซึ่งเป็นส่วนประกอบในตำรับทำให้พื้นที่ผิวของอนุภาคสูงขึ้นทำให้การยึดเกาะกับผิวหนังสูงขึ้นและสามารถทำให้เกิดการปกคลุมผิวเมื่อทาลงบนผิวหนัง เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง สามารถพัฒนาในขั้นอุตสาหกรรมได้ง่าย และต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก นอกจากนั้นเมื่อนำมารวมกับสารที่ใช้ป้องกันแสงแดดแล้ว ไม่มีผลทำให้ทั้งค่า SPF และ ฤทธิ์ในการไล่ยุงเสียไป |
สนใจสอบถามข้อมูล สโรชา เพ็งศรี งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1311 E-mail: sarocha.phengsri@nstda.or.th |