สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน นางสาวเกวรินทร์ กล่ำเชาว์ |
|
หน่วยงาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เลขที่ 19483 |
|
สถานะงานวิจัย ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา เชื้อรากับดักไส้เดือนฝอยมีโครงสร้างกับดักหลากหลายรูปแบบ รูปแบบของโครงสร้างกับดักขึ้นอยู่กับ ชนิด สายพันธุ์ หรือสภาพแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยสภาพแวดล้อมที่มีชีวิตที่สำคัญที่สุดคือ ตัวไส้เดือนฝอยที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะกระตุ้นให้เชื้อราสร้างกับดักแบบต่างๆ เชื้อราบางชนิด เช่น A. oligospora ที่กลายพันธุ์นอกจากจะสร้างสปอร์ที่มีสารกาวเหนียวตั้งแต่อยู่บนก้านชูสปอร์ ยังสร้างกับดักจำนวนมากบนเส้นใยด้วย แสดงถึงความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยในธรรมชาติ และยังสามารถเป็นปรสิตของเชื้อราชนิดอื่น โดยการพันและรัดรอบเส้นใยของเชื้อราชนิดอื่น แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวให้มีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย คณะผู้วิจัยได้ศึกษารากำจัดไส้เดือนฝอยรากปม 2 สายพันธุ์คือ Arthrobotrys oligospora และ Arthrobotrys javanica พบว่า เชื้อราทั้ง 2 ชนิดมีการสร้างกับดักในรูปแบบของห่วงคล้ายแห ทำให้ไส้เดือนฝอยที่ไปติดกับดักถูกเส้นใยเจริญแทงทะลุลำตัวเข้าไปเติบโตอยู่ภายในและตัวไส้เดือนฝอยจะค่อยๆ ตายในที่สุด |
สรุปเทคโนโลยี • กรรมวิธีการเตรียมเชื้อราและเพิ่มปริมาณเส้นใยของเชื้อรา Arthrobotrys oligospora และ Arthrobotrys javanica ในรูปแบบเส้นใยสด ซึ่งต้องนำเส้นใยสดของเชื้อดังกล่าวไปใส่ใต้โคนต้นพืช ซึ่งให้เส้นใยเจริญในดิน และสร้างห่วงกับดัก เพื่อใช้ในการกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม ( Meloidogyne sp. ) • ทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม และลดการตกค้างของสารเคมีเหล่านี้ในดิน |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1357 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |