สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย รศ.ดร.สมรัฐ เกิดสุววรณ |
|
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยการเผากากของเสีย มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้วิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำจดอนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0803000742 เรื่องระบบกำเนิดก๊าซเชื้อเพลิงจากกากของเสียเพื่อผลิตพลังงาน |
|
สถานะงานวิจัย พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากชีวมวลและขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นระบบการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งจากชีวมวล หรือขยะมูลฝอยให้ละลายเป็นเชื้อเพลิงก๊าซโดยใช้ปฎิกรณ์ผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบไหลลง เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ปะปนมากับก๊าซจากนั้นจึงไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ดีเซลแบบใช้เชื้อเพลิงร่วม(Dual-Fuel Diesel Engine)เพื่อให้กำเนิดกระแสไฟฟ้า |
สรุปเทคโนโลยี ระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.เครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิง เป็นแบบไหลลง เพื่อให้น้ำมันดินที่เกิดขึ้นมีค่าน้อย และออกแบบให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องถึง 8 ชั่วโมงโดยป้อนเชื้อเพลิงครั้งเดียว(400 กิโลกรัม)โดยป้อนเชื้อเพลิงจากด้านบนของเครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงด้วยเดรน 2.ระบบป้อนอากาศ อากาศที่ป้อนเข้าสู่เครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิง จะถูกเพิ่มอุณหภูมิ โดยแลกเปลี่ยนความร้อนจากก๊าซเชื้อเพลิงร้อนที่ออกจากGasifier ซึ่งไหลผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อากาศที่ร้อนขึ้นจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง ทำให้อุณหภูมิภายใน Gasifierสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำดินที่เกิดขึ้นสลายตัวภายใน Gasifier ในขณะเดียวกันการที่ก๊าซเชื้อเพลิงมีอุณหภูมิลดลงส่งผลให้ ลดภาระการกระทำงานของระบบทำความสะอาดและปริมาณน้ำที่ใช้ สำหรับลดอุณหภูมิของก๊าซเชื้อเพลิง 3.ระบบทำความสะอาดก๊าซเชื้อเพลิง ประกอบด้วย Cyclone filter,Venturi scrubber,Tar Box,Mist separator,Sawdust filter,Moisture Separator,Gas Holder Chamber และ Paper filter 4.เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซเชื้อเพลิง ประกอบด้วย • เครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็ว 4 จังหวะ 4 ลูกสูบ ระบายความร้อนด้วยไอน้ำ ซึ่งสามารถใช้ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากระบบฯ ร่วมได้ ขนาด 65 กิโลวัตต์ • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 50 กิโลวัตต์ ชนิด 3 เฟส แรงคลื่นไฟฟ้า 380/400 โวลท์ ความถี่50/60 เฮิร์ท |
จุดเด่นของเทคโนโลยี • การนำไปใช้ สามารถนำไปใช้งานภายในพื้นที่ ซึ่งมีเศษวัสดุชีวมวลเหลือใช้จากการเกษตรและ/หรือจากกรับวนการผลิตในอุตสาหกรรมหรือมีเชื้อเพลิงจากขยะ(RDF)อยู่แล้ว และอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึงและมีความต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ระบบนี้จะมีประโยชน์ในการกำจัดวัสดุเหลือใช้ ในขณะเดียวกันก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งช่วยทำให้ประหยัดพลังงานและรักษาสภาวะแวดล้อมให้ดีขึ้น • รายได้ที่เกิดขึ้น คือ รายได้จาการที่รับกำจัดขยะที่ผู้นำมาทิ้งจะต้องชำระให้ และรายได้ที่เกิดจาการประหยัดพลังงาน หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ โดยในอนาคตมีโครงการขยายกำลังการผลิตเป็น 200 kW และ 1 MW |
สนใจสอบถามข้อมูล สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 1616 - 1619 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |