สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)
นักวิจัย
คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
หน่วยงาน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานะงานวิจัย
เทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอด
รหัสโครงการ
TT-2558-124
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทย คือ การระบาดของศัตรูพืชโดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายโดยตรงต่อผลผลิตของเกษตรกรและส่งผลกระทบต่อเนื่อง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนอาจไม่คุ้มต่อการลงทุนในการเพาะปลูกของเกษตรกร

จากแนวโน้มการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มากเกินความจำเป็นและการใช้ ที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิต นอกจากนั้นในเวทีการค้าโลกได้ตกลงลดการกีดกันทางการค้าด้านภาษีลง เพื่อสนับสนุนแนวทางการค้าเสรี แต่ในการปฏิบัติจริงประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศโดยเฉพาะคู่ค้าทางการเกษตร อาทิเช่น สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้ใช้วิธีกีดกันทางการค้าโดยใช้คุณภาพของสินค้าเป็นตัวกำหนดในการนำเข้า สินค้าทางการเกษตรจากประเทศไทย เช่น การกำหนดระดับของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อ การส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศดังกล่าว ทั้งๆที่ประเทศเหล่านี้มีความต้องการซื้อสินค้าจากประเทศไทยจำนวนมาก
สรุปเทคโนโลยี
เอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในจำนวนไวรัสที่มีการค้นพบทั้งหมดใน 8 Family ไวรัสเอ็นพีวีจัดอยู่ในวงศ์ Baculoviridae สกุล Baculovirus พบเกิดโรคกับตัวอ่อนของแมลงในอันดับ Lepidoptera เป็นส่วนใหญ่ไวรัส เอ็น พี วีเป็นเชื้อชีวินทรีย์ที่มีความเจาะจงกับแมลงเป้าหมาย โดยชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอม (Spodopteraexigua nuclear polyhedrosis virus : SeNPV) ที่พบในประเทศไทยจะมีอนุภาคของไวรัสอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (multiple embeded) ตั้งแต่ 3 - 5 อนุภาคใน nucleocapsid และ nucleocapsid ถูกห่อหุ้มด้วยผลึกโปรตีนรูปร่างหลายเหลี่ยม เมื่อหนอนกระทู้หอมกินเข้าไปจะทำให้เกิดโรคและตายภายใน 3 – 7 วัน ตัวอย่างพืชเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในการนำไวรัสชนิดนี้ไปใช้ เช่น องุ่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ เป็นต้น โดยสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์
จุดเด่นของเทคโนโลยี
เป็นกระบวนการ ผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีความพร้อมที่จะขยายขนาดสู่ระดับอุตสาหกรรมได้ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม (ไม่มีพิษตกค้างบนพืช) ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ผลิตได้นั้นแมลงศัตรูพืชสร้างความต้านทานได้ช้ากว่าสารฆ่าแมลง (ยังไม่พบการดื้อต่อผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี) มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงศัตรูพืช จึงปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลงได้ 100 เปอร์เซ็นต์
สนใจสอบถามข้อมูล
สโรชา เพ็งศรี
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 025647000 ต่อ 1311
E-mail: sarocha.phengsri@nstda.or.th