สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร.วรายุทธ สะโจมแสง และคณะ |
|
หน่วยงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001426 ยื่นคำขอวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันพบว่า น้ำยาฆ่าเชื้อทางการแพทย์และสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในโรงพยาบาล คลินิกทันตกรรม คลีนิคเพื่อความงาม เวชกรรม และศูนย์ดูแลสุขภาพต่างๆ อีกทั้ง ปัจจุบันประชาชนกันมาตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคของผู้บริโภค ทำให้เริ่มมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถผลิตได้ภายในประเทศ จะช่วยลดภาระการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงได้ และเป็นการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึงได้มีการพัฒนาผลงานวิจัยน้ำยาฆ่าเชื้อทางการแพทย์ขึ้น ดังนั้นทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อจากซิงค์ไอออนขึ้น โดยเป็นการพัฒนาซิงค์ไอออนจากเกลือซิงค์ให้คงตัวในสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ อาศัยหลักการของการแทนที่โมเลกุลของน้ำที่มาล้อมรอบซิงค์ไอออนด้วยโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น กรดอะมิโน โปรตีน หรือพอลิเมอร์ที่ทำหน้าที่ล้อมรอบหรือเกิดสารประกอบเชิงซ้อนหรือเกิดการคีเลตกับซิงค์ไอออนแทนที่โมเลกุ |
สรุปเทคโนโลยี • มีความเป็นพิษน้อยกว่า • ราคาถูก เนื่องจากใช้เกลือของโลหะ • ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการระบาดของเชื้อ • มีความคงตัว ใช้ได้แม้น้ำกระด้าง • มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราได้หลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส |
สนใจสอบถามข้อมูล จิรนันท์ บุบผามาลา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 025647000 ต่อ 1616 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |