สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
แผ่นเมมเบรนเส้นใยนาโนสำหรับการรักษาแผล
นักวิจัย
ดร.อัจฉรา แป้งอ่อน
หน่วยงาน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002838 ยื่นคำขอวันที่ 29 กันยายน 2564
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
วัสดุปิดแผลมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการรักษาแผล โดยวัสดุปิดแผลทั่วไป เช่น ผ้าก๊อต และพลาส- เตอร์ปิดแผลจะมีส่วนช่วยป้องกันแผลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่วัสดุบางประเภทส่งผลให้แผลแห้งและอาจทำให้แผลติดเชื้อได้ในเวลาต่อมา ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาแผ่นปิดแผลให้มีสมบัติพิเศษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เช่น แผ่นปิดแผลเพื่อปกป้องแผลจากการขาดน้ำและการติดเชื้อ รวมถึงเร่งกระบวนการรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น การพัฒนาวัสดุปิดแผลจากสารสกัดและวัตถุดิบธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการรักษาแผลเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นสารกลุ่มที่มีความเป็นพิษต่ำ ทั้งยังเข้ากันได้ดีกับเซลล์สิ่งมีชีวิตและช่วยเร่งกระบวนการหายของแผลสำหรับแผ่นปิดแผลเส้นใยนาโนที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการเร่งการปิดแผลได้ดีกว่าแผ่นปิดแผลทางการค้าประมาณ 2 เท่า ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทั้งยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมถึงแบคทีเรียดื้อยาอีกด้วย
สรุปเทคโนโลยี
จุดเด่นและการประยุกต์ใช้แผ่นเมมเบรนเส้นใยนาโน สามารถพัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลที่ใช้ได้กับสารสกัดสมุนไพร หรือสารสังเคราะห์ที่เป็นตัวยา โดยใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยนาโน ซึ่งจะช่วยเร่งให้เกิดการสมานแผลและลดโอกาสการติดเชื้อ ตลอดจนมีความปลอดภัยต่อเซลล์ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแผลอีกทางหนึ่ง มีจุดเด่นดังนี้
• ใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปเส้นใยนาโน (Nanofiber fabrication technology) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
• เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น ลดโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียดื้อยา MRSA
• ไม่เป็นพิษ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ปราศจากเชื้อและอ่อนโยนต่อผิว
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์: 02-564-7000 ต่อ 1616
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th