สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย (Cenospheres Separation from Fly ash)
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
ดร. ศรชล โยริยะ และ น.ส. ภัทรธิชา เทพศรี
หน่วยงาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803002239 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2561
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11334
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เถ้าถ่านหิน (coal ash) เป็นวัตถุพลอยได้ (by product) ที่เกิดจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ แบ่งออกเป็นเถ้าลอยประมาณ 80% (Fly ash) และเถ้าหนัก 20% (Bottom ash) ในเถ้าลอยมีวัสดุที่มีมูลค่าผสมอยู่ คือ “เซโนสเฟียร์” (cenospheres) ซึ่งเป็นวัตถุอนินทรีย์อนุภาคกลมกลวง มีน้ำหนักเบา ความหนาแน่นต่ำ มีสมบัติเด่น คือ เป็นฉนวนกันความร้อน ทนทานต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดสูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดี ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรยานยนต์ใช้เป็นส่วนประกอบของปูนอุดรอยรั่วที่ตัวถังรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่วัสดุมุงหลังคา ปูนฉาบผนังและปูนซีเมนต์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์สูงสุดของวัสดุและการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน จึงสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณค่าของวัตถุพลอยได้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า และเพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้เซโนสเฟียร์อย่างแพร่หลาย
สรุปเทคโนโลยี
• แบบกระบวนการและสูตรการคัดแยกเซโนสเฟียร์ชนิดความหนาแน่นต่ำจากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าถ่านหิน
• เทคโนโลยีการลดแคลเซียมบนเซโนสเฟียร์ชนิดความหนาแน่นต่ำที่คัดแยกด้วยกระบวนการแบบเปียก
• เทคโนโลยีการคัดแยกเถ้าลอย (วัสดุผงที่มีช่วงขนาดอนุภาคกว้าง ระหว่าง < 10 – 350 ไมครอน) ด้วยระบบลม กำลังผลิตระดับภาคสนาม
• สูตรขั้นตอนแบบเบ็ดเสร็จในการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพและคุณสมบัติเซโนสเฟียร์และเถ้าลอยโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1618
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th