สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
นักวิจัย
ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะ
หน่วยงาน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001574 ยื่นคำขอวันที่ 13 กรกฎาคม 2561
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703000798 ยื่นคำขอวันที่ 11 พฤษภาคม 2560
สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หลากหลาย ดังนั้น แนวคิดในการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์ จึงนับเป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ
ถ่านคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) ชื่อเรียกที่หลายคนคุ้นชินและแฝงไปด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่น่าเปลกใจ หากเราจะเห็นการนำถ่านคาร์บอนกัมมันต์ไปใช้กำจัดหรือดูดซับสิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดเหมาะกับการนำไปใช้อุปโภคและบริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
สรุปเทคโนโลยี
- เทคโนโลยีการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์ทั้งวิธีการกระตุ้นทางเคมีและทางกาย
- ชุดอุปกรณ์สำหรับการกระตุ้นถ่านคาร์บอนกัมมันต์ภายใต้บรรยากาศแก๊ส CO2 และ N2 ระดับห้องปฏิบัติการ (ขนาดกำลังการผลิต 10 - 15 กรัม)
- ชุดอุปกรณ์สำหรับการกระตุ้นถ่านคาร์บอนกัมมันต์แบบกึ่งต่อเนื่องภายใต้บรรยากาศ ไอน้ำ แก๊ส CO2 และ N2 ระดับประลอง (ขนาดกำลังการผลิต 15 กิโลกรัม)
- เทคนิคขั้นสูงสำหรับศึกษาสมบัติด้านโครงสร้างและหมู่ฟังก์ชันของถ่านคาร์บอนกัมมันต์ เช่น การศึกษาโครงสร้างสามมิติและโคออร์ดิเนชันด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กส์ (x-ray absorption spectroscopy; XAS), การวิเคราะห์สปีชีส์ที่ว่องไวในบริเวณพื้นผิวหน้าของถ่านคาร์บอนกัมมันต์ด้วยเทคนิคโฟโตอิเล็กตรอนของรังสีเอกส์ (x-ray photoelectron spectroscopy; XPS) เทคนิคการศึกษาลักษณะสัณฐานจากแสงอิเล็คตรอนด้วยเทคนิคอิเล็กตรอนไมโครสโกปี (electron microscopy, EM) ควบคู่กับการระบุชนิดของธาตุ (element mapping) ตลอดจนการศึกษาความเป็นผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกส์ (x-ray diffraction; XRD) และรามาน (Raman)
สนใจสอบถามข้อมูล
งานพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์: 0 2564 7000
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th