สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT) |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร องค์ความรู้ |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ (HandySense) ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกอุปกรณ์ไอโอที มาพร้อมกับความโดดเด่นคือ อุปกรณ์ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม ในราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้ โดย HandySense จะตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผลแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ (sensor) ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ แสง และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่เหมาะสมของการเพาะปลูกพืช (Crop Requirement) เพื่อแจ้งเตือนและสั่งการระบบต่าง ๆ ให้ทำงานต่อไป ระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน (Farm To School) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน เป็นระบบที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เป็นทั้งโรงเรียน เครือข่ายเกษตรกร และผู้จัดหาผลผลิต ระบบถูกออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รองรับการทำงานที่ใช้งานบนกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการซื้อขายผลผลิตระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ |
สรุปเทคโนโลยี 1.เป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูกถือเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้น ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิตรวมถึงช่วยเรื่องการเพิ่มคุณค่าของผลิตผลได้ 2. สามารถควบคุมคุณภาพ ประเมินปริมาณผลผลิต เพิ่มคุณค่าผลผลิตรวมทั้งลดต้นทุนการผลิต 3. เป็นเครื่องมือ web application เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างความต้องการผลผลิตและความสามารถในการผลิตระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ที่ใช้งานง่าย และรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ 4. บริหารจัดการข้อมูลผลผลิตแบบครบวงจร ทั้งในส่วนของการจับคู่ความต้องการจากโรงเรียนและความสามารถในการผลิตของการเกษตรกรและกระบวนการติดตามตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อ 5. รองรับการค้นหาเกษตรกรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ราคา ระยะทาง และมาตรฐานการผลิต 6. เป็นแพลตฟอร์มตั้งต้นในการพัฒนาฐานข้อมูลผลผลิตท้องถิ่นตามฤดูกาลเพื่อการขยายผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น การสร้างระบบแนะนำสำรับอาหารอัตโนมัติโดยใช้ผลผลิตที่มีอยู่ตามฤดูกาลในพื้นที่ และระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตสินค้าเกษตร |
สนใจสอบถามข้อมูล ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทรศัพท์: 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 E-mail: business@nectec.or.th |