สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย |
|
หน่วยงาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001721 ยื่นคำขอวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 |
|
สถานะงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ African swine fever (ASF) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง โดยหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เนื่องจากในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค อีกทั้งเชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงและสามารถปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อสุกรและซาลามีได้ ASF เป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก โดยทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีอัตราป่วยและตายเกือบ 100% ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคออกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร การใช้ชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพในระดับที่สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ASF ได้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ชุดตรวจ PigXY-AMP พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของเทคนิคแลมป์ผนวกกับการอ่านผลโดยการสังเกตการเปลี่ยนสีของสาร Xylenol orange ภายในปฏิกิริยาแลมป์ในขั้นตอนเดียว ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความไวและความจำเพาะสูง การนำมาใช้ตรวจลูกสุกร แม่พันธุ์ และผลิตภัณฑ์อาหารจึงเป็นการช่วยควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างทันการณ์และมีประสิทธิภาพ |
สรุปเทคโนโลยี PigXY-AMP เป็นชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรด้วยเทคโนโลยีแลมป์เปลี่ยนสีแบบสำเร็จรูปพร้อมใช้ มีวิธีการเตรียมตัวอย่างและวิธีทดสอบที่ง่าย เร็ว ไม่ซับซ้อน การทดสอบด้วยเทคนิคแลมป์สามารถใช้ได้กับเครื่องให้ความร้อน หรือ heating block ที่มีราคาถูก และมีวิธีอ่านผลการตรวจโดยการดูสีของสารละลายแลมป์ในหลอดทดสอบด้วยตาเปล่า ชุดตรวจนี้จึงไม่ต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ราคาแพง PigXY-AMP มีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำสูงเทียบเท่าวิธี real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน อีกทั้งมีราคาถูกกว่า สามารถผลิตได้เองในประเทศ ลดการนำเข้าชุดตรวจที่มีราคาแพง |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1357 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |