สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
Technology Licensing Office
iGuard Nano
นักวิจัย
ดร.วรล อินทะสันตา
หน่วยงาน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพสิทธิบัตร
ความลับทางการค้า
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10521
สถานะงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันมีการนำสารเคลือบผิววัสดุ ผ้า หรือสิ่งทอมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และมีเทคโนโลยีการนำสารเคลือบมาใช้ในหลากหลายรูปแบบวิธีการ โดยส่วนมากหากเป็นการตกแต่งสำเร็จเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ จะเน้นไปที่วิธีการบีบอัด (padding method) และวิธีการจุ่มอัดรีด (exhaust method) เนื่องจากเป็นวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในระดับอุตสาหกรรม และโดยทั่วไปแล้ววิธีการบีบอัดจะเหมาะสมกับผ้าที่มีหน้ากว้าง 100 – 180 เซนติเมตร และหากผ้ามีหน้ากว้างมากกว่านั้นหรือผ้ามีการตัดเย็บสำเร็จแล้ว จะเหมาะสมกับวิธีการจุ่มอัดรีดมากกว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีการบีบอัดและการจุ่มอัดรีดระดับอุตสาหกรรมดังกล่าว จะต้องเตรียมสารเคลือบและวัตถุดิบผ้านำเข้าในปริมาณที่ค่อนข้างมากซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย ดังนั้นเทคโนโลยีการเคลือบในรูปแบบของสเปรย์นี้จะทำให้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งในกลุ่มครัวเรือนและกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก เป็นต้น
สรุปเทคโนโลยี
• สเปรย์สูตร ‘สมบัติสะท้อนน้ำ’ ให้สมบัติลดการซึมของน้ำหรือสร้างปรากฎการณ์น้ำกลิ้งบนผิวผ้า จะตอบโจทย์ความต้องการแก้ปัญหาเรื่องของการดูแลรักษาที่ยาก และเปื้อนง่าย ในผิววัสดุหรือผ้าบางชนิดได้เป็นอย่างดี
• สเปรย์สูตร ‘สมบัตินุ่มลื่น’ จะแก้ไขปัญหาเรื่องเนื้อผ้ามีความแข็ง สวมใส่ไม่สบาย ทำให้ผ้ามีเนื้อนุ่ม มากขึ้น ช่วยลดการยับและช่วยให้ผ้ามีสมบัติคืนตัวที่ดีขึ้น
• เป็นการเคลือบในระดับอนุภาคนาโน ซึ่งทำให้แสดงคุณสมบัติพิเศษของตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีเยี่ยม
• วิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
• ใช้ได้กับผิววัสดุ ผ้าหรือสิ่งทอหลากหลายชนิด เช่น ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าใยผสม และผ้าใยสังเคราะห์ ฯลฯ
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1616
E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th