สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย ดร.นพดล เกิดดอนแฝก (หัวหน้าโครงการ) ดร.วรรณี ฉินศิริกุล (ที่ปรึกษาโครงการ) นายเชาวน์ ศรีเพชรดี (ผู้ช่วยนักวิจัย) นางสาวอัจฉราพร อ้นที (ผู้ช่วยนักวิจัย) นายปราโมทย์ คุ้มสังข์ (ผู้ช่วยนักวิจัย) |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร • คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์เรื่อง แผ่นฟิล์มบางและใสและกระบวนการผลิตแผ่นฟิล์มดังกล่าวด้วยการดึงยืดสองทิศทาง เลขที่คำขอ 1001001007วันที่ยื่นคำขอ 5กรกฎาคม 2553 • คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์เรื่อง กรรมวิธีการผลิตเมมเบรนรูพรุนโพลิโพรพิลีนที่มีสมบัติการคัดเลือกผ่านสำหรับก๊าซหรือของเหลว เลขที่คำขอ 1001001483วันที่ยื่นคำขอ 27กันยายน 2553 |
|
รหัสโครงการ TT-2559-133 |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทย ผลิตผลทางการเกษตรจำพวกผักและผลไม้สด มีความสำคัญต่อเนื่องทั้งในอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการแปรรูป และการส่งออกผลิตผลสดไปยังต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันยังมีอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการคุณภาพของผลิตผลสดอยู่อีกมาก ทั้งจากเรื่องค่าขนส่งที่มีต้นทุนสูงขึ้นและแปรปรวนตามราคาน้ำมันโลก รวมถึงวิธีการและระยะทางการขนส่งที่จำกัดเนื่องจากผลิตผลสดมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นทำให้ไม่สามารถขนส่งระยะทางไกลๆ ได้ การใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเข้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นทางออกที่เหมาะสม ซึ่งเอ็มเทคได้ทำการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งผลิตผลสดระยะทางไกล โดยเริ่มจากผลิตผลสดที่มีมูลค่าสูงของประเทศไทย เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวเป็นกระบวนการสร้างสภาวะรักษาความสด (Fresh-Care condition) ผ่านการใช้เทคโนโลยีฟิล์มปรับสภาพบรรยากาศให้อยู่ในสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere) ร่วมกับวิธีการจัดส่งผลิตผลสดที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้ผลิตผลสดที่บรรจุอยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ชนิดพิเศษนี้สามารถคงคุณค่าและความสดได้ยาวนานกว่าการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ทั่วไป 2-5 เท่า และบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวต้องมีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด |
สรุปเทคโนโลยี ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ Active PAKTM Ultra ถูกพัฒนาต่อจาก Active PAKTM ถุงหายใจได้ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ใช้เทคโนโลยีฟิล์มรูพรุน (Porous PP film) เป้าหมายในการใช้งานเพื่อรักษาความสดของผลิตผลสดที่มีอัตราการหายใจสูงมาก (High respiration rate produce) เช่น มะม่วง เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน มะนาว และ เงาะ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการขนส่งระยะไกล และ การเก็บรักษาสินค้าปริมาณมากสำหรับจำหน่ายนอกฤดู |
จุดเด่นของเทคโนโลยี จากหลักการสร้างสภาพบรรยากาศภายในถุงให้มีความสมดุล ควบคุมก๊าซออกซิเจน (O2) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้ไหลผ่านเข้าออกถุงได้ในระดับที่พอเหมาะ ช่วยให้ผลิตผลสดที่อยู่ในถุงมีอัตราการหายใจลดต่ำลง สามารถยืดอายุความสดได้นานขึ้น 2-5 เท่า โดยมีผลการทดสอบบรรจุภัณฑ์ Active PAKTM Ultra ที่อุณหภูมิ 4-8°C - อายุการเก็บรักษา 7 วัน สำหรับ เห็ดหอม (Shiitake mushroom) จากเดิม เก็บได้ 3 วัน - อายุการเก็บรักษา 7-9 วัน สำหรับ หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) |
สนใจสอบถามข้อมูล ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. โทรศัพท์: 02564 7000 ต่อ 1618 โทรสาร: 02564 7003 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |