สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
นักวิจัย นายสรวง สมานหมู่ |
|
หน่วยงาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานะงานวิจัย - พัฒนาต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว - ต้องการผู้ร่วมทดสอบการใช้งาน และขยายขนาดผลิตต้นแบบ |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา การเผยแพร่ระบาดของยาต้านเชื้อมาลาเรียปลอม ที่มีสาร artermisinin เป็นองค์ประกอบโดยสารดังกล่าวเป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละปีมีประชากรที่เสียชีวิตจากการบริโภคยาต้านเชื้อมาลาเรียปลอมสูงถึงปีละกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก วิธีการตรวจสอบยา artermisinin ยังจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางเคมีวิเคราะห์ขั้นสูงซึ้งจำกัดอยู่เฉพาะการวิเคราะห์ในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น ผลงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเซนเซอร์เพื่อตรวจวิเคราะห์สาร artermisinin ในยาต้านเชื้อมาลาเรีย ทั้งแบบเปลี่ยนแปลงสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ และเปลี่ยนแปลงสี ซึ้งจากข้อจำกัดของการสังเกตุเห็น การเปลี่ยนแปลงสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ ทางคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาชุดตรวจสอบสาร artermisinin ในยาต้านเชื้อมาลาเรีย แบบเปลี่ยนสีที่สังเกตุการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและสามารถใช้วิเคราะห์ยาต้านเชื้อมาลาเรียปลอมได้ระดับภาคสนาม |
สรุปเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบสาร artermisinin ในยาต้านเชื้อมาลาเรียแบบเปลี่ยนสี |
จุดเด่นของเทคโนโลยี 1. วิธีการวัดที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สะดวกและรวดเร็ว (ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของสีเกิดขึ้นภายใน 30 วินาทีหลังการเติมยาต้านเชื้อมาลาเรียที่มีสาร artermisinin และอนุพันธ์เป็นองค์ประกอบ 2. สามารถนำไปใช้วิเคราะห์สาร artermisinin และอนุพันธ์ที่ผสมทั้งยาต้านเชื้อมาลาเรียปลอมและจริง 3. สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร artermisinin และอนุพันธ์ ได้ในระดับที่ต่ำกว่า 1 ppm อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่า 1 นาที |
สนใจสอบถามข้อมูล สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 1323 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |