สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี Technology Licensing Office |
นักวิจัย ดร.นพดล นันทวงศ์ |
|
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
รูปแบบความร่วมมือที่เสนอ เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพสิทธิบัตร คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1501003964 ยื่นคำขอวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 |
|
สถานะงานวิจัย ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา ชิปขยายสัญญาณรามาน (OnSpec Lite) สร้างด้วยเทคนิคการเคลือบฟิล์มขั้นสูงที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษโดยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีฟิล์มบางเชิงแสง ทำให้ได้ฟิล์มบางโครงสร้างนาโนของโลหะเงินที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวสามารถขยายสัญญาณรามานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าอัตราการขยายสัญญาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดกว่า 100 เท่า ในขณะที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า พื้นผิวขยายสัญญาณประกอบด้วยชิปคู่ขนาด 4.5 mm×4.5 mm บรรจุในถุงฟอยด์ป้องการทำปฏิกริยากับอากาศ จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัดสารตัวอย่างที่มีความเจือจางมากในระดับ trace concentration ซึ่งไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเทคนิคการตรวจวัดสัญญาณรามานแบบปกติ |
สรุปเทคโนโลยี 1. ชิปพื้นผิวขยายสัญญาณรามานชนิดแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างนาโนเมตรฝั่งอยู่บนโครงสร้างระดับไมโครเมตร และยึดติดด้วยอนุภาคโลหะทองที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวสามารถขยายสัญญาณรามานได้สูง 2. พื้นที่ขยายสัญญาณขนาด 4.0 มม. x 4.0 มม. (ปรับขนาดได้ตามความต้องการ) 3. ฐานรองแผ่นโลหะอะลูมิเนียมหนา 0.04 มม. 4. ขยายสัญญาณรามานได้ไม่น้อยกว่า 105 เท่า (Methylene blue) 5. สามารถใช้ได้กับเครื่องวัดสัญญาณรามานที่ใช้ความยาวคลื่น 500 ถึง 800 นาโนเมตร 6. สามารถตรวจวัด Nitrate, TNT, RDX, Paraquat และ Cabaryl ที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 10-3 โมล่าร์ 7. พื้นผิวของชิปขยายสัญญาณรามานมีสมบัติไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) ดังนั่นการตรวจวัดสัญญาณรามานของสารตัวอย่างที่มีตัวทำละลายเป็นน้ำ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปลายแหลมสะอาดช่วยสะกิดสารตัวอย่างลงบนชิป 8. อายุการใช้งาน 2 ปี |
สนใจสอบถามข้อมูล งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) โทรศัพท์: 0 2564 7000 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th |