มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยว (Amazing Thailand Safety and Health Administration)

มาตรฐานต่างๆ

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คำนึงถึงความปลอดภัยของทุกท่านที่มาใช้บริการที่ศูนย์ประชุมฯของเรา เราจึงได้ดำเนินการตามมาตรการ
ความปลอดภัยสําหรับองค์กร (Covid Free Setting) ซึ่งมาตรฐานนี้จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ
    1.สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร
    2.การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
    3.การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมาตรการในแต่ละประเภทกิจการจะมีรายละเอียดระบุไว้อย่างชัดเจน อาทิ การตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานก่อนเข้าทำงาน, การให้พนักงานสวมหน้ากากอนามัยตลอดช่วงเวลาที่ให้บริการเป็นต้น
 
และเรามีความภาคภูมิใจที่จะแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า ปัจจุบันศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยได้รับมาตรฐาน SHA เรียบร้อยแล้วค่ะ ทุกท่านจึงมั่นใจได้ว่าตลอดเวลาที่ท่านมาใช้บริการกับเรา นอกจากท่านจะได้รับบริการที่ดีที่สุด ท่านยังได้รับมาตรฐานด้านสาธารณสุขที่ดีที่สุดอีกด้วยค่ะ ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของคุณนะคะ

เมื่อปีพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้รับตราสัญลักษณ์ SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในโครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และเพื่อเป็นการตอกย้ำความมั่นใจแก่ผู้ที่มาใช้บริการที่ศูนย์ประชุม ฯ ล่าสุดเราได้รับตราสัญลักษณ์ “SHA PLUS” จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเนื่องจากเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุด พร้อมต้อนรับผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานทั้งจากในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงพนักงานของเรายังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนกว่า 100% แล้ว

มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน (ASEAN MICE Venue Standard)

มาตรฐานต่างๆ

ASEAN MICE Venue Standards หรือ AMVS เป็นมาตรฐานสถานที่จัดการจัดประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ที่พัฒนาโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานระดับอาเซียนจากคณะรัฐมนตรีอาเซียนแล้ว 2 ประเภท คือ ประเภทห้องประชุมและสัมมนา และสถานที่จัดนิทรรศการและงานแสดงสินค้า โดยมีสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน AMVS ทั่วอาเซียนรวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 100 แห่ง เป็นสถานประกอบการในประเทศไทยถึง 53 แห่ง ซึ่งนับว่ามากที่สุดในอาเซียน โดย สสปน. ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 5 ปี นับจากนี้จะมีสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน AMVS มากกว่า 500 แห่งทั่วอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ASEAN Connectivity ร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ได้เข้าร่วมการประเมินและผ่านการรับรองมาตรฐาน AMVS ประเภทห้องประชุม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 1 ห้อง คือ ห้องประชุม CC-403 ชั้น 4

มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard)

มาตรฐานต่างๆ

Thailand MICE Venue Standards หรือ TMVS คือ ตราสัญลักษณ์ที่ใช้รับรองมาตรฐานของสถานที่จัดงานประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ (TCEB) เป็นผู้ริเริ่มความคิดและพัฒนาแผนการดำเนินงานเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศแรกในอาเซียน ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวใช้ยืนยันว่าสถานที่จัดงาน ศูนย์การประชุม อาคารแสดงสินค้า โรงแรม รีสอร์ท สถานที่ราชการและเอกชน มีความเหมาะสมตามมาตรฐานการจัดงานในระดับสากล เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจ MICE ในไทยให้กับกลุ่มนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ได้เข้าร่วมการประเมินและผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาครบทุกห้อง และมีการประเมินเพื่อต่ออายุทุกๆ 3 ปี ตลอดมา

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

ผลการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance)

  • การจัดการขยะ ตามหลักการ 4R
  • การบำบัดน้ำเสียเพื่อนำมาใช้ใหม่
  • ลดการใช้พลังงานโดยเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นแบบประหยัดพลังงาน
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก บริการชาร์จโทรศัพท์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  • นโยบายลดการใช้กระดาษ
  • การให้บริการน้ำดื่มขวดแก้วพร้อมหลอดไบโอ รวมทั้งจัดวางถังน้ำคูลเลอร์แทนการใช้ขวดพลาสติกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการดําเนินงานด้านสังคม
(Social Performance)

  • การถ่ายทอดองค์วามรู้ด้านบริหารจัดการในอุตสาหกรรมไมซ์แก่บุคคลที่ให้บริการและผู้สนใจ โดยเปิดเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน สอนงาน
  • รับนักศึกษาฝึกงานเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรมไมซ์แก่สังคม
  • จัดอบรมดิจิทัลให้กับหน่วยงานภาครัฐ

ผลการดําเนินงานด้านเศรษฐกิจ
(Economic Performance)

  • เปิดโอกาสในการจ้างงานคนในชุมชนโดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และคัดเลือกโดยพิจารณาบุคลากรที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงก่อน เพื่อสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ชุมชน
  • จัดสรรพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนในการจำหน่ายสินค้าชุมชนโดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้การบริการรถไฟฟ้า    รอบอวท.แทนรถพลังงานน้ำมัน

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นศูนย์ประชุมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม

พันธกิจ (Mission)

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ให้บริการสถานที่จัดงานด้วยมาตรฐานระดับประเทศและ
อาเซียน และส่งเสริมการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

Background

ความเป็นมา

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park Convention Center – TSPCC) ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นิคมวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศ ภายใต้การบริหารงานของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นอาคาร 4 ชั้น ที่ออกแบบเพื่อรองรับการจัดกิจกรรม การประชุม อบรมสัมมนา นิทรรศการ งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอื่นๆ บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 30,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้กว่า 4,000 คน

ชั้น 1-2 เป็นห้องโถงนิทรรศการ พื้นที่ 2,480  ตารางเมตร เป็นพื้นที่จัดแสดงงาน สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ตามความต้องการ

ชั้น 3-4 ประกอบด้วยห้องประชุมใหญ่ Auditorium ขนาด 376 ที่นั่ง ห้องอบรมสัมมนาขนาดเล็ก และขนาดกลาง ห้องอบรมคอมพิวเตอร์            ห้องรับรองแขก VIP รวมถึงห้อง Boardroom ขนาด 61 ที่นั่ง

ขอเชิญร่วมรับฟังเสวนา: มหัศจรรย์ของพลังดนตรีกับการเลี้ยงลูก

ขอเชิญร่วมรับฟังเสวนาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก
ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560 เวลา 13:30 – 15:30 น. (ส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงาน แม่ของลูก แม่ของโลก ปี 60)
หัวข้อ..มหัศจรรย์ของพลังดนตรีกับการเลี้ยงลูก

ดนตรีมีผลกับการพัฒนาการของเด็ก/ สมอง การเลี้ยงดู หรือรวมถึงการบำบัด เช่น 
– ทำไม ต้องดนตรี 
– ดนตรีมีอะไรมากกว่าที่คิดจริง ? 
– ดนตรีช่วยพัฒนาสมอง เพิ่มพลังสมองอย่างไร 
– ดนตรีเป็นสื่อการเรียนรู้ของลูกอย่างไร

วิทยกร 
ดร.แพง ชินพงศ์., ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การศึกษาและครอบครัว
คุณฝนพา ปราโมช ณ อยุธยา (เมย์ the VIOCE) 
พ.ญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ., นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง
ผู้ดำเนินรายการ คุณฤทัย จงสฤษดิ์., ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและพัฒนากิจกรรมเยาวชนวิทยาศาสตร์ สวทช.

สนใจลงทะเบียนในส่วนงานเสวนา >> https://goo.gl/forms/5mNXJC4YXMUF8eb13
ร่วมจัดกิรรมกรรมโดย 
– ฝ่ายสื่อสารองค์กร 
– ฝ่ายวิชาการและพัฒนากิจกรรมเยาวชนวิทยาศาสตร์
– NSTDA Channel 
– ชมรมดนตรี สวทช. 
– อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดย ฝ่ายบริหารศูนย์ประชุมฯ

โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลบุคลากรภาครัฐจังหวัดปทุมธานี

โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลบุคลากรภาครัฐจังหวัดปทุมธานี วันที่ 6 มีนาคม 2560

จังหวัดปทุมธานีจัดฝึกอบรมบุคลากรภาครัฐ จังหวัดปทุมธานี ตามโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลบุคลากรภาครัฐจังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยได้รับเกียรติจาก หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และ นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 เวลา 8.30 – 16.30 น.

Image Gallery