คุณสมบัติและเงือนไขในการสมัคร
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 6 หรือเทียบเท่า (อาชีวศึกษา) ที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย ทั้งจากโรงเรียนรัฐบาล เอกชน และโรงเรียนนานาชาติ ไม่จำกัดสัญชาติ และอายุไม่เกิน 20 ปี ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568
คุณสมบัติและเงื่อนไขในการส่งข้อเสนอโครงงาน
นอกจากปฏิบัติตามเงื่อนไขจริยธรรมการวจัย ข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามในการส่งโครงงานเข้าร่วมการแข่งขัน YSC แล้ว โครงงานจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นโครงงานเดี่ยว หรือโครงงานทีมที่มีสมาชิกไม่เกิน 3 คน และสมาชิกในทีมต้องมาจากโรงเรียนเดียวกันเท่านั้น โดยนักเรียนแต่ละคนสามารถส่งโครงงานเข้าร่วมประกวดได้เพียง 1 โครงงานเท่านั้น
- โครงงาน 1 โครงงานต้องมีที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คน และอนุญาติให้มีครูที่ปรึกษาพิเศษเพิ่มได้อีก 1 คน โดยครูที่ปรึกษา 1 คนสามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานได้หลายโครงงาน
- นักเรียนที่ส่งโครงงานเข้าร่วมโครงการ YSC และได้รับทุนพัฒนาผลงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ส่งผลงาน เข้าร่วมโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ที่จัดการแข่งขันในช่วงเดียวกันของปีนั้นๆ
- นักเรียนที่ส่งโครงงานเข้าร่วมโครงการ YSC แล้ว และไม่ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนสนับสนุนรอบแรก จะไม่มีสิทธิ์ขอเพิ่มชื่อเข้าร่วมโครงงาน YSC ที่ได้รับคัดเลือกให้รับทุนในปีเดียวกัน
- ระยะเวลาในการดำเนินโครงการประมาณ 3 เดือน นักเรียนผู้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช. ต้องส่งผลงานตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด
- โครงงานที่ได้รับทุนต้องจัดทำข้อตกลงการรับทุนให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนธันวาคม หากพ้นกำหนดทางโครงการ YSC ขอสงวนสิทธิ์การจ่ายเงินทุนให้กับผู้พัฒนา และการจ่ายเงินสนับสนุนการพัฒนาโครงในรอบข้อเสนอโครงการ และรอบนำเสนอผลงาน ทางศูนย์ประสานงานภูมิภาคของโครงการ จะเบิกจ่ายเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงงานให้ผู้พัฒนาเมื่อโครงการฯ ได้รับเงินจากผู้สนับสนุนโครงการเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้พัฒนาอาจได้รับทุนสนับสนุนหลังการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเสร็จสิ้นแล้ว
- ทรัพย์สินทางปัญญาของผลงานที่เกิดขึ้นเป็นของนักเรียนผู้พัฒนาโครงงาน ทั้งนี้ สวทช. และ วช. สามารถนำผลงานไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อการศึกษา วิจัย ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานได้
- ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาโครงงาน นักเรียนผู้พัฒนาโครงงานจะต้องระบุข้อความหรือแจ้งให้สาธารณชนทราบว่า “ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” “This research and innovation activity is funded by National Science and Technology Development Agency (NSTDA) and National Research Council of Thailand (NRCT)” หากผู้รับทุนไม่สามารถพัฒนาผลงานได้ตามที่เสนอ จะต้องมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขอยกเลิกและส่งคืนเงินทุนให้แก่ สวทช.
- นักเรียนผู้พัฒนาโครงงานต้องติดตามข้อมูลข่าวสารที่ สวทช. หรือ ศูนย์ประสานงานภูมิภาคประกาศเป็นระยะๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการ
- หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากข้อเสนอโครงงานที่ส่งมาแล้ว นักเรียนผู้พัฒนาโครงงานจะต้องแจ้งปรับปรุงข้อมูลของตนเองเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง โดยแจ้งแก่ศูนย์ประสานงานภูมิภาคและ สวทช. ทราบตามลำดับ เพื่อผลประโยชน์ของนักเรียนผู้พัฒนาเอง
- หากข้อเสนอโครงงานมีแผนการทดลองเกี่ยวกับมนุษย์ (รวมถึงการจัดทำแบบสอบถาม) หรือสัตว์จะต้องมีการจัดทำแบบฟอร์มจริยธรรมวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์แนบมาเป็นหลักฐานด้วย
ข้อกำหนดหลักในการเข้าร่วมประกวด
เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดเยาวชนได้เข้าใจถึงความปลอดภัยในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้ศึกษา/ผู้พัฒนาโครงงาน โครงการทั้งหมดต้องได้รับการอนุมัติจากประธาน Scientific Review Committee (SRC) ระดับภูมิภาค (หัวหน้าศูนย์ประสานงานภูมิภาค) ก่อนเริ่มลงมือทำการทดลอง
โดยโครงการ YSC ได้มีการกำหนดลักษณะของโครงการในด้านต่าง ๆ ได้แก่
- ลักษณะข้อเสนอโครงการหรือผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- ลักษณะโครงการต่อเนื่อง
- ลักษณะโครงการที่ห้ามเข้าร่วมการประกวด
- ลักษณะโครงการที่ต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก่อนการทดลอง
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กิจกรรม และอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตราย
- ลักษณะโครงการที่จะถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด
ซึ่งต้องทำความเข้าใจ ดังต่อไปนี้
ลักษณะข้อเสนอโครงการหรือผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- ข้อเสนอโครงการหรือผลงาน ต้องไม่ลอกเลียนแบบหรือนําเอาผลงานจากการศึกษาหรือการดําเนินการของผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด หากนําความคิดของตนเองที่เคยส่งเข้าประกวดแล้วหรือผลงานผู้อื่นมาดําเนินการ (ให้ระบุลงในหัวข้อเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในรายงานวิจัยให้ชัดเจน) โดยในโครงการศึกษา/วิจัย ต้องระบุที่มาของโครงการต้นแบบและจุดที่มีการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดไปจากโครงการเดิมอย่างละเอียด
- ข้อเสนอโครงการต้องไม่พบลักษณะของ “โครงการที่ห้ามเข้าร่วมการประกวด”
- ข้อเสนอโครงการบางโครงการที่เกี่ยวข้องกับ (1) ผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ (2) สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (3) สารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย และ (4) สารเคมี กิจกรรม และอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตราย อาจต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ โดยมีอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมก่อนเริ่มการทดลอง ทั้งนี้โปรดศึกษารายละเอียดใน “ลักษณะโครงการที่ต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก่อนการทดลอง” โดยต้องมีการจัดทำเอกสารเพิ่มเติมตามที่กำหนด และพร้อมกันนี้ โปรดศึกษาหัวข้อ “การจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียนและส่งข้อเสนอโครงการ”
- ข้อเสนอโครงการที่เป็นโครงการต่อเนื่อง ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดใน “ลักษณะโครงการต่อเนื่อง”
- ข้อเสนอโครงการหรือผลงาน จะต้องไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ ในการประกวดทั้งในระดับประเทศหรือต่างประเทศมาก่อน ไม่ว่ามูลค่ารางวัลที่ได้รับมาจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม หากเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลระหว่างการประกวดเวที YSC จะต้องรายงานให้โครงการ YSC ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องชี้แจงให้ทราบถึงจุดที่มีการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดแตกต่างจากผลงานที่เคยได้รับรางวัลระหว่างการประกวด/แข่งขันผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ของโครงการ อาทิ ผ่านช่องเมนูการแจ้งปัญหาที่หน้าระบบ SIMS หรือทำหนังสือแจ้งศูนย์ประสานงานโครงการที่ท่านสังกัด เป็นต้น
ลักษณะโครงการต่อเนื่อง
- นักเรียนจะต้องใช้ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ/การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดำเนินการต่อเนื่องกัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2566
- โครงการเหล่านี้ต้องชี้แจงในข้อเสนอโครงการและในผลงานอย่างชัดเจนว่ามีการวิจัยเพิ่มเติมและแตกต่างจากโครงการเดิมอย่างไร โดยต้องการกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์ม (Continuation Project Form (7)) และต้องกล่าวในส่วนบทนำของข้อเสนอโครงการและรายงาน/รายงานฉบับสมบูรณ์
- ข้อเสนอโครงการและผลงานที่เป็นการทำซ้ำของการทดลองครั้งก่อนด้วยวิธีการและคำถามการวิจัยเดียวกัน แม้ว่าจะมีขนาดกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นก็ตาม เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประกวดได้
- บอร์ดแสดงผลงานและบทคัดย่อต้องสะท้อนถึงผลงานของปีปัจจุบันเท่านั้น ชื่อโครงการที่แสดงในบูธ อาจกล่าวถึงปี (เช่น “Year Two of an Ongoing Study”) สำหรับสมุดบันทึกข้อมูล (Logbook) เอกสารงานวิจัย และเอกสารประกอบของปีที่แล้วอาจอยู่ที่บูธได้ โดยต้องมีการติดฉลากไว้อย่างถูกต้อง
- อนุญาตให้ทำการศึกษาระยะยาวเป็นการศึกษาต่อเนื่อง ที่ยอมรับได้ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้:
- การศึกษานี้เป็นการทดสอบการศึกษาหลายปี หรือการบันทึกตัวแปรเดียวกันโดยที่เวลาเป็นตัวแปรที่สำคัญ (ตัวอย่าง: ผลกระทบของฝนหรือความแห้งแล้งต่อดินในแอ่งน้ำต่อการฟื้นฟูของพืชและสัตว์ในพื้นที่ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป)
- แต่ละปีการศึกษาที่ติดต่อกัน ต้องแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
- บอร์ดแสดงผลงาน ต้องยึดตามข้อมูลสรุปในอดีตโดยรวมและเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลปีปัจจุบัน ห้ามแสดงข้อมูลดิบ (raw data) จากปีก่อนหน้า
- ในการนำเสนอผลงาน ต้องนำเสนอเฉพาะผลการทดลองในปีล่าสุดเท่านั้น
ลักษณะโครงการที่ห้ามเข้าร่วมการประกวด
- โครงการที่ผิดกฏหมาย
- โครงการที่ก่อให้เกิดความเครียดหรือความเจ็บปวดกับมนุษย์
- โครงการที่มีช่วยเหลือหรือก่อให้เกิดการตายอย่างไม่เจ็บปวด (Euthanasia)
- โครงการที่มีการให้ยาตามใบสั่งของแพทย์แก่ผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
- โครงการที่มีการวินิจฉัยโรค การจัดการให้ยา/การรักษา การทำหัตถการทางการแพทย์กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ รวมถึงการให้ข้อมูลการวินิจฉัยหรือข้อมูลทางการแพทย์แก่ผู้เข้าร่วม โดยผู้ศึกษาปฏิบัติเองโดยตรง
- โครงการที่มีการเผยแพร่แอพพลิเคชั่นวินิจฉัยและข้อมูลการวินิจฉัยโรค การจัดการให้ยา/การรักษา บนเว็บไซต์สาธารณะหรือ App Store โดยอิสระ
- โครงการที่มีการฆ่าสัตว์โดยตรง การสร้างความเจ็บปวด หรือความทรมาน โดยเฉพาะในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยการปรับสภาพด้วยสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ การแยกแม่/ทารก หรือการชักนำใด ๆ โดยปราศจากการดูแล/ช่วยเหลือ
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหยื่อ/ผู้ล่ากับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- โครงการที่มีการปรับเปลี่ยน/ดัดแปลงพันธุกรรม (genetically-altered) ในสิ่งมีชีวิต
- โครงการที่มีการแนะนำหรือกำจัดสัตว์หรือพืชพันธุ์ต่างถิ่นและ/หรือที่มีการรุกราน รวมถึงเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษ หรือสารแปลกปลอมที่ไม่ใช่สัตว์หรือพืชที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อก่อโรคที่ต้องใช้ Biosafety Level BSL-3 หรือ BSL-4 โดยใช้หลักการ Biosafety Level ตามแบบมาตรฐานนานาชาติ ทั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “การจัดระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Level, BSL)” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม
- โครงการที่ก่อให้เกิดลักษณะการดื้อยาหรือเชื้อต้านยาเพิ่มขึ้น (เช่น เพิ่มการต้านยาจาก 1 ตัวยาเป็น 2 ตัวยา)
- โครงการที่ส่งผลต่อความสามารถในการรักษาโรคติดเชื้อในมนุษย์ สัตว์ หรือพืช ที่ลดลง
- โครงการที่ออกแบบหรือคัดเลือกเชื้อดื้อยาหลายชนิด (Multidrug Resistant Organisms, MDROs) เพื่อตรวจสอบพยาธิสภาพ การพัฒนา หรือการรักษาโรคติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับสารชีวภาพ (Biological agents) ที่สามารถใช้ทำเป็นอาวุธได้
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับอาวุธและสารพิษชีวภาพ/ชีวพิษ (Biological and toxin weapons)
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือเพิ่มดีเอ็นเอลูกผสม (Recombinant DNA, rDNA) ของสิ่งมีชีวิต ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ สารพิษ ชีวพิษ (toxin) เชื้อโรค ลักษณะการดื้อยาหรือเชื้อต้านยาเพิ่มขึ้น อาวุธและสารพิษชีวภาพ และสารชีวภาพที่สามารถใช้ทำเป็นอาวุธได้
- โครงการที่มีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษแล้วเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- โครงการที่ก่อให้เกิดแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภค
- โครงการที่มีการใช้ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารควบคุม DEA ที่เป็น Schedule I (รวมถึงกัญชา) ทั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารควบคุม DEA” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม
- โครงการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือมีการทดสอบในสถานที่จริงโดยไม่ได้ทำการป้องกันผลกระทบที่ส่งผลต่อธรรมชาติ
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาวุธปืน
- โครงการที่มีการใช้โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ โดยผู้พัฒนาเป็นผู้ควบคุมและบังคับการบินด้วยตนเอง
ลักษณะโครงการที่ต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก่อนการทดลอง
1. โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
โครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจาก Institutional Review Board (IRB) ก่อนเริ่มทำการทดลอง และ/หรือต้องยื่นหลักฐานการอนุมัติจากประธาน Scientific Review Committee (SRC) ระดับภูมิภาค (หัวหน้าศูนย์ประสานงานภูมิภาค) ก่อนเริ่มทำการทดลอง โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้จากเว็บไซต์โครงการ YSC (https://www.nstda.or.th/ysc) และระบบ SIMS (https://www.nstda.or.th/sims)
- โครงการที่มีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางร่างกาย (เช่น การออกแรงทางกายภาพ การกลืนสารหรืออาหารใด ๆ กระบวนการทางการแพทย์ใด ๆ)
- โครงการที่มีการศึกษาทางจิตวิทยา การศึกษา และความคิดเห็น (เช่น แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบ)
- โครงการที่มีการศึกษาที่ผู้ศึกษาเป็นผู้เข้าร่วมการทดสอบ
- โครงการที่มีการทดสอบสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ หรือแอปพลิเคชันคอมพิวเตอร์ที่ผู้พัฒนาออกแบบโดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ ที่นอกเหนือจากผู้พัฒนาหรือผู้ปกครอง อาจารย์ที่ปรึกษา นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในโครงการ และเกี่ยวข้องกับสุขภาพ
- โครงการที่มีการใช้ข้อมูล/บันทึกข้อมูลที่ไม่มีการระบุตัวตน (เช่น ชุดข้อมูลที่มีชื่อ วันเกิด หมายเลขโทรศัพท์ หรือตัวแปรระบุอื่น ๆ)
- โครงการที่มีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่ง
- เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับบุคคลที่สังเกตหรือเมื่อผู้วิจัยได้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม (เช่น ติดป้าย วางสิ่งของ) หรือ
- เกิดขึ้นในสถานที่ทั้งที่เป็นสาธารณะและไม่เป็นสาธารณะ (เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก หน่วยงานสาธารณสุข) หรือ
- เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
- ผู้ศึกษาต้องให้รายละเอียดในส่วนของผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ในข้อเสนอโครงการ และประเมินและลดความเสี่ยงทางกายภาพ จิตใจ และความเป็นส่วนตัวให้กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ (ศึกษาเพิ่มเติมที่หัวข้อ “แนวทางการกำหนดระดับความเสี่ยงในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม)
- การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ จะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดย IRB ก่อนที่จะมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ (เช่น การรับสมัคร การรวบรวมข้อมูล) เพื่อประเมินความเสี่ยงทางร่างกายและ/หรือจิตใจที่อาจเกิดขึ้นของโครงการ และตัดสินใจว่าโครงการเหมาะสมสำหรับการวิจัยของนักเรียนและปลอดภัยสำหรับผู้ศึกษาและผู้เข้าร่วมหรือไม่
- โครงการที่ดำเนินการที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในชุมชน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม จะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดย IRB ก่อนที่นักเรียนจะเริ่มรับสมัครและ/หรือโต้ตอบกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ ซึ่ง IRB ต้องประเมินความเสี่ยงและจัดทำเอกสารการกำหนดความเสี่ยงในแบบฟอร์ม Human Participants Form (4)
- โครงการที่ดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม (เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์ ห้องปฏิบัติการของรัฐ) จะต้องได้รับการอนุมัติเพื่อศึกษาจาก IRB (แสดงสำเนาการอนุมัติ) สำหรับจดหมายจากนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่เอกสารที่เพียงพอสำหรับกระบวนการตรวจสอบและอนุมัติ
- ผู้ศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดของโรงเรียน หรือสถาบันการวิจัยที่มีการควบคุม ก่อนที่จะเริ่มปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ (เช่น การรับสมัคร การรวบรวมข้อมูล)
- หาก IRB ต้องการนักวิทยาศาสตร์ แบบฟอร์ม Qualified Scientist Form (2) จะต้องมีการกรอกโดยนักวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ ซึ่ง IRB จะตรวจสอบแบบฟอร์มที่กรอกสมบูรณ์นี้ก่อนที่จะอนุมัติโครงการ
- หาก IRB ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมาย จะต้องกรอกแบบฟอร์ม Risk Assessment Form (3) ก่อนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ ซึ่ง IRB จะตรวจสอบแบบฟอร์มที่กรอกสมบูรณ์นี้ก่อนที่จะอนุมัติโครงการ
- ดูกฎข้อที่ 4 เกี่ยวกับขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการขอความยินยอม/คำยินยอม และ/หรือการอนุญาตจากผู้ปกครอง
- การเข้าร่วมในการวิจัยอาจเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยได้ให้ความยินยอม/ยินยอมโดยสมัครใจ (ในบางกรณีต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง) ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เป็นผู้ใหญ่อาจให้ความยินยอมด้วยตนเอง แต่สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และ/หรือบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ (เช่น บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หรือผู้ทุพพลภาพ) ต้องให้ความยินยอม โดยมีพ่อแม่/ผู้ปกครองเป็นผู้อนุญาต
IRB จะพิจารณาว่าความยินยอม/การอนุญาตจากผู้ปกครอง อาจเป็น 1) ทางวาจาหรือโดยปริยาย หรือ 2) ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยดูข้อมูลการประเมินความเสี่ยง หัวข้อ “แนวทางการกำหนดระดับความเสี่ยงในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว
- ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว กำหนดให้ผู้วิจัยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้เข้าร่วม (และพ่อแม่หรือผู้ปกครองหากเกี่ยวข้อง) เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมในการศึกษาวิจัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมและพ่อแม่หรือผู้ปกครองตัดสินใจโดยมีข้อมูลประกอบว่า หรือไม่เข้าร่วม
- ผู้เข้าร่วมต้องได้รับแจ้งว่า การเข้าร่วมเป็นไปด้วยความสมัครใจและสามารถหยุดเข้าร่วมได้ทุกเมื่อ (กล่าวคือ พวกเขาอาจเข้าร่วมหรือปฏิเสธที่จะเข้าร่วม โดยไม่มีผลเสียของการไม่เข้าร่วมหรือถูกยกเลิกการมีส่วนร่วม)
- ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวต้องไม่ได้เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ
- เมื่อต้องมีการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครอง และการศึกษารวมถึงแบบสำรวจ จะต้องแนบแบบสำรวจไปกับแบบฟอร์มยินยอม (Human Informed Consent Form, ISEF-Human_Consent_Form.pdf)
- ผู้ศึกษาอาจร้องขอให้ IRB เพิกเฉยต่อข้อกำหนดการแสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร/การอนุญาตจากผู้ปกครอง ในข้อเสนอโครงการ หากโครงการเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ ศึกษาได้จากหัวข้อ “แนวทางการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดการแสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร/การอนุญาตจากผู้ปกครองของ IRB” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม
- ห้ามผู้ศึกษาวินิจฉัยโรค การจัดการให้ยา/การรักษา และ/หรือทำหัตถการทางการแพทย์กับมนุษย์ รวมถึงการให้ข้อมูลการวินิจฉัยหรือข้อมูลทางการแพทย์แก่ผู้เข้าร่วมโดยอิสระ การศึกษาต้องมีการควบคุมโดยตรง/มีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
- ผู้ศึกษาอาจสังเกตและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์กระบวนการทางการแพทย์ ประสิทธิภาพของยา/การรักษา และการวินิจฉัยความเจ็บป่วย ภายใต้การดูแลโดยตรงของผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพที่มีใบอนุญาตเท่านั้น ห้ามผู้ศึกษาเจาะเลือดหรือทำหัตถการทางการแพทย์อื่นใดกับผู้อื่นนอกจากตนเอง
- ผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพ จะต้องมีชื่ออยู่ในข้อเสนอโครงการ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจาก IRB และไม่ได้ละเมิดหลักปฏิบัติทางสาธารณสุขที่เหมาะสม
- ห้ามผู้ศึกษาให้ข้อมูลการวินิจฉัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ แก่ผู้เข้าร่วมโดยไม่มีการควบคุมโดยตรงและการมีส่วนร่วมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่แอพพลิเคชั่นสำหรับการวินิจฉัยและข้อมูลของโรค การจัดการให้ยา/การรักษา บนเว็บไซต์สาธารณะหรือ App Store ต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ที่เหมาะสม
- ผู้ศึกษาต้องไม่เผยแพร่หรือแสดงข้อมูลในรายงานที่ระบุผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์โดยตรง หรือสิ่งใด ๆ ที่เชื่อมโยงกับผู้เข้าร่วม (รวมถึงรูปถ่าย) โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เข้าร่วม
- อนุญาตให้มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต (เช่น อีเมล การสำรวจทางเว็บ) แต่ผู้ศึกษาควรตระหนักว่า สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายในการรวบรวมข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน การขอความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว และทำให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมมีอายุที่เหมาะสมในการให้ความยินยอม
- สำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผู้เยาว์ในการทำแบบสำรวจออนไลน์ จะต้องได้รับความยินยอม/อนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของผู้เยาว์ก่อน ก่อนที่จะมอบแบบสำรวจให้กับผู้เยาว์ โดยขั้นตอนในการขออนุญาตจากผู้ปกครองจะต้องอธิบายไว้ในข้อเสนอโครงการอย่างชัดเจน
- สำหรับการทำแบบสำรวจออนไลน์ ต้องปกป้องความลับของทำแบบทดสอบ สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ การปกป้อง IP address ตลอดจนข้อมูลที่ให้ไว้ โดยข้อควรระวังจะต้องระบุชัดเจนในข้อเสนอโครงการ
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- Human Participants Form (4) – สำหรับโครงการที่ได้รับการตรวจสอบโดย IRB และพร้อมแนบแบบสำรวจที่เกี่ยวข้อง (ใส่ไว้ในข้อเสนอโครงการ)
- Human Informed Consent Form – สำหรับโครงการที่ต้องรับการยินยอม/อนุญาต (ให้ทำก่อนเริ่มการทดลองจริง)
- Qualified Scientist (2) – เมื่อต้องการ
- Risk Assessment Form (3) – เมื่อต้องการ
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ โดยมีส่วนร่วมในสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ แอปพลิเคชันคอมพิวเตอร์ โครงการวิศวกรรม/การออกแบบ และการทดสอบผลิตภัณฑ์ ที่ออกแบบโดยผู้พัฒนา
สิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ แอปพลิเคชันคอมพิวเตอร์ และโครงการด้านวิศวกรรม/การออกแบบ ที่ออกแบบโดยผู้พัฒนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทดสอบสิ่งประดิษฐ์โดยผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ จำเป็นต้องให้ความสนใจกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการทดสอบหรือการทดลองสิ่งประดิษฐ์/ต้นแบบของแต่ละบุคคล
- ต้องมีการตรวจสอบและอนุมัติโดย IRB เมื่อต้องใช้สิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ การใช้งาน ฯลฯ ที่ออกแบบโดยผู้พัฒนา เพื่อการทดสอบโดยใช้ผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ นอกเหนือจากทดสอบกับผู้พัฒนา ผู้ปกครอง อาจารย์ที่ปรึกษา นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ ซึ่งรวมถึงแบบสำรวจที่ดำเนินการเพื่อการประเมินศักยภาพการใช้งานหรือให้ความคิดเห็นของสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคโดยสาธารณชนทั่วไป สิ่งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใช้กับความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ
- ผู้เข้าร่วมการทดสอบสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยหรือการก้าวก่ายทางการแพทย์ (ตามที่กำหนดโดย FDA หรือ Medical Practices Act) ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดข้อที่ 5 ในข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
- ต้องกรอกรายละเอียดแบบฟอร์ม Risk Assessment Form (3) สำหรับสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ หรือโครงการที่ออกแบบโดยผู้พัฒนาเพื่อผู้บริโภค และเกี่ยวข้องกับการทดสอบในมนุษย์
อย่างไรก็ตามโครงการบางลักษณะอาจได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อนการทดลอง)
โครงการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์แต่ได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก IRB ก่อนการทดลอง หรือไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม Human Participants Form (4))
- โครงการที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ แอปพลิเคชันคอมพิวเตอร์ หรือโครงการวิศวกรรม/การออกแบบที่ออกแบบโดยผู้พัฒนา โดยผู้พัฒนาเป็นผู้ทดสอบสิ่งประดิษฐ์ ต้นแบบ หรือแอปพลิเคชันคอมพิวเตอร์เพียงผู้เดียว และการทดสอบไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัย
- โครงการที่มีการศึกษาทบทวนข้อมูล/บันทึก (เช่น สถิติเบสบอล สถิติอาชญากรรม) ซึ่งข้อมูลนั้นนำมาจากชุดข้อมูลที่มีอยู่แล้วซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะและ/หรือเผยแพร่ และไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับมนุษย์ หรือการรวบรวมข้อมูลใด ๆ จากผู้เข้าร่วม เพื่อวัตถุประสงค์การวิจัยของผู้ศึกษา
- โครงการที่มีการสังเกตพฤติกรรมในสถานที่สาธารณะที่ไม่ถูกจำกัด (เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดทั้งหมดต่อไปนี้:
- ผู้วิจัยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่ถูกสังเกต
- ผู้วิจัยไม่ได้ดัดแปลงสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด และ
- ผู้วิจัยไม่ได้บันทึกข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้
- โครงการที่ได้รับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว/ข้อมูลย้อนหลังในรูปแบบไม่ระบุตัวตน/ไม่ระบุชื่อ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อต่อไปนี้
- ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรว่าข้อมูลนั้นได้รับการยกเลิกการระบุตัวตนอย่างเหมาะสมก่อนที่จะมอบให้กับผู้ศึกษา และเป็นไปตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวและ Health Insurance Portability and Accountability Act (HIPAA) ทั้งหมด และ
- ข้อมูลไม่มีการระบุตัวตน ซึ่งตรวจสอบแล้วโดยอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว
2. โครงการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในสัตว์ในกระดูกสันหลัง โครงการ YSC แนะนำหลักปฏิบัติ 4R สำหรับการใช้สัตว์ในการทดลอง ดังต่อไปนี้
- Replace – แทนที่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ/เซลล์ และ/หรือการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์หากเป็นไปได้
- Reduce – ลดจำนวนสัตว์โดยไม่ลดทอนความถูกต้องทางสถิติ
- Refine – ปรับปรุงระเบียบวิธีการทดลองเพื่อลดความเจ็บปวดหรือความทุกข์กับสัตว์
- Respect – เคารพสัตว์และมีส่วนร่วมในการวิจัยหากจำเป็นต้องใช้สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ผู้ศึกษาต้องพิจารณาทางเลือกเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้สัตว์
โครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจาก ประธาน Scientific Review Committee (SRC) ระดับภูมิภาค (หัวหน้าศูนย์ประสานงานภูมิภาค) ก่อนเริ่มลงมือทำการทดลอง โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์โครงการ YSC (https://www.nstda.or.th/ysc) และระบบ SIMS (https://www.nstda.or.th/sims)
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ครอบคลุมดังต่อไปนี้ (1) สัตว์จำพวกปลา เมื่อฟักไข่หรือเกิด (2) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เมื่อฟักไข่หรือเกิด (3) สัตว์เลื้อยคลาน เมื่อฟักไข่หรือเกิด (4) สัตว์ปีก เมื่อฟักไข่หรือเกิด และ (5) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เมื่อฟักไข่หรือเกิด
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ตามราชกิจจานุเบกษา กำหนดประเภทและชนิดของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ณ 6 กันยายน 2566 ได้ที่ https://nrct.go.th/file/Mreg/2566_0406.5_1878-1.pdf
โครงการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง จะต้องปฏิบัติตามลักษณะที่กำหนดด้านล่างต่อไปนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการศึกษาและสถานที่วิจัย
โครงการที่เป็นการศึกษาเนื้อเยื่อและไม่ใช่การศึกษาสัตว์มีกระดูกสันหลัง หากได้รับเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่ถูกการุณยฆาตเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อการศึกษาของผู้พัฒนา (การใช้เนื้อเยื่อที่ได้จากการวิจัยที่ดำเนินการภายในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม ต้องมีสำเนาใบรับรองจากคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถาบัน (The Institutional Animal Care and Use Committee, IACUC) พร้อมชื่อสถาบันวิจัย ชื่อเรื่องการศึกษา หมายเลขอนุมัติ IACUC และวันที่อนุมัติ) ในการศึกษาเนื้อเยื่อ ผู้ศึกษาอาจสังเกตการศึกษาสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่ไม่สามารถจัดการหรือมีส่วนร่วมโดยตรงในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง
- การศึกษาในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ต้องได้รับการทบทวนและอนุมัติก่อนเริ่มการทดลอง
- ห้ามโครงการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่มากกว่าชั่วขณะหรือเล็กน้อย ต้องตรวจสอบความเจ็บป่วยหรือน้ำหนักลดโดยไม่คาดคิด และปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการดูแลทางการแพทย์ที่จำเป็น การตรวจสอบนี้จะต้องจัดทำเป็นเอกสารโดยนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือสัตวแพทย์ หากเกิดความเจ็บป่วยหรือความทุกข์เกิดจากการศึกษา การทดลองนั้นจะต้องยุติทันที
- ไม่อนุญาตให้มีการตายของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เนื่องจากขั้นตอนการทดลองในกลุ่มหรือกลุ่มย่อยใด ๆ
- ห้ามการศึกษาที่ออกแบบหรือคาดว่าจะทำให้สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังตาย
- การตายใด ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องได้รับการสอบสวนโดยสัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติในการพิจารณาว่าสาเหตุของการตายนั้นเกิดจากอุบัติเหตุหรือเกิดจากขั้นตอนการทดลอง โครงการต้องถูกระงับจนกว่าจะทราบสาเหตุและต้องบันทึกผลลัพธ์เป็นลายลักษณ์อักษร
- หากการตายเป็นผลมาจากขั้นตอนการทดลอง การศึกษานั้นจะต้องยุติลง และการศึกษาจะไม่เข้าเกณฑ์สำหรับการประกวด
- สัตว์ทุกตัวต้องได้รับการตรวจดูสัญญาณของความทุกข์ เนื่องจากการลดน้ำหนักอย่างมากเป็นสัญญาณหนึ่งของความเครียด จึงต้องมีการบันทึกน้ำหนักอย่างน้อยทุกสัปดาห์ โดย 15% เป็นน้ำหนักที่ลดลงสูงสุดที่อนุญาตหรือชะลอการเจริญเติบโต (เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม) ของสัตว์ทดลองหรือสัตว์ควบคุมใด ๆ หากการชั่งน้ำหนักสัตว์ไม่สามารถทำได้ในลักษณะที่ปลอดภัยสำหรับทั้งผู้วิจัยและสัตว์ จำเป็นต้องมีคำอธิบายและการอนุมัติจาก SRC ซึ่งต้องมีการระบุในวิธีการทดลองถึงวิธีการระบุสัญญาณของความทุกข์ในข้อเสนอโครงการ
นอกจากนี้ ระบบประเมินการให้คะแนนการปรับสภาพร่างกาย (Body Conditioning Scoring, BCS) เหมาะกับการใช้งานสำหรับสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิจัยและการเกษตร และเป็นวิธีที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินสถานะสุขภาพโดยรวม โดยมีหรือไม่มีการสูญเสียน้ำหนัก ดังนั้นควรมีการประเมิน BCS ไว้ในการออกแบบการศึกษาใด ๆ ที่ใช้สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามผู้ศึกษาออกแบบหรือเข้าร่วมในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ดังต่อไปนี้
- การศึกษาความเป็นพิษที่ชักนำด้วยสารพิษที่รู้จัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความทรมาน หรือความตาย (รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง) แอลกอฮอล์ ฝนกรด ยาฆ่าแมลง หรือโลหะหนัก หรือการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษของสารที่มีต่อสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- การทดลองทางพฤติกรรม โดยการปรับสภาพด้วยสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ การแยกแม่/ทารก หรือการชักนำใด ๆ โดยปราศจากการดูแล/ช่วยเหลือ
- การศึกษาความเจ็บปวด
- การทดลองเหยื่อ/ผู้ล่ากับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- จำเป็นต้องให้เหตุผลสำหรับการออกแบบการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดอาหารหรือของเหลว และต้องเหมาะสมกับสายพันธุ์ หากข้อจำกัดเกิน 18 ชั่วโมง โครงการจะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ และต้องมีการดำเนินการ ณ สถาบันวิจัยที่มีการควบคุมเท่านั้น
- ห้ามจับหรือปล่อยสัตว์สู่ธรรมชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้วิธีการและข้อควรระวังที่เหมาะสมเพื่อลดความเครียด ปลาอาจได้มาจากธรรมชาติก็ต่อเมื่อผู้วิจัยปล่อยปลาโดยไม่เป็นอันตราย การตกปลาด้วยไฟฟ้าจะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และต้องเป็นไปตามกฏหมาย ห้ามผู้ศึกษาทำการตกปลาด้วยไฟฟ้า
- นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะต้องควบคุมดูแลการวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยตรง (ยกเว้นการศึกษาเชิงสังเกต)
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- แบบฟอร์มขออนุมัติวิจัยในสัตว์ (Animal Research Approval Form)
- Vertebrate Animal Form (5A) (ที่ดำเนินการที่โรงเรียน/บ้าน/ภาคสนาม) และ/หรือ Vertebrate Animal Form (5B) (ที่ดำเนินการในสถานที่วิจัยที่มีการควบคุม)
- Qualified Scientist Form (2) – เมื่อต้องการ
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีการทดลองกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยดำเนินการที่โรงเรียน/บ้าน/ภาคสนาม
การศึกษาสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอาจดำเนินการที่บ้าน โรงเรียน ฟาร์ม ฟาร์มปศุสัตว์ ในท้องทุ่ง ฯลฯ ซึ่งรวมถึง:
- การศึกษาสัตว์ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- การศึกษาสัตว์ในสวนสัตว์
- การศึกษาปศุสัตว์ที่มีมาตรฐานการเกษตร
- การศึกษาปลาที่มีมาตรฐานการเพาะเลี้ยง
โดยโครงการเหล่านี้ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดย SRC
- โครงการเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามแนวทางทั้งสองข้อต่อไปนี้:
- การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเฉพาะการศึกษาด้านการเกษตร พฤติกรรม การสังเกต หรืออาหารเสริมเกี่ยวกับสัตว์ และ
- การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่ไม่รุกรานและไม่ล่วงล้ำเท่านั้น โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์
การศึกษาสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่ไม่เป็นไปตามแนวทางข้างต้น จะต้องดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม
- สัตว์ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพและดูแลอย่างเหมาะสม สัตว์ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะสมกับสายพันธุ์ สัตว์เหล่านี้ต้องได้รับน้ำและอาหารที่สะอาด (ไม่ปนเปื้อน) อย่างต่อเนื่อง ต้องทำความสะอาดที่อยู่อาศัยบ่อยครั้ง และต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตลอดเวลา รวมทั้งต้องสังเกตสัตว์ทุกวันเพื่อประเมินสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยที่ต้องมีผู้ควบคุมกับกำกับดูแลเพื่อดูแลการเลี้ยงสัตว์
- สัตวแพทย์ต้องรับรองการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการให้อาหารเสริม การบริหารยาตามใบสั่งแพทย์ และ/หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่พบตามปกติในชีวิตประจำวันของสัตว์
- หากเกิดการเจ็บป่วยหรือเหตุฉุกเฉิน สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์หรือสาธารณสุขที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ผู้ศึกษาต้องหยุดการทดลองหากพบว่าสัตว์มีน้ำหนักตัวลดลงหรือเสียชีวิตโดยไม่คาดคิด การทดลองจะเริ่มต้นใหม่ได้ก็ต่อเมื่อสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือการตายไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการทดลอง และหากมีการดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อกำจัดปัจจัยที่เป็นสาเหตุ หากการตายเป็นผลมาจากขั้นตอนการทดลอง การศึกษาจะต้องยุติลง และการศึกษาจะไม่เข้าเกณฑ์สำหรับการประกวด
- การจัดการขั้นสุดท้ายของสัตว์จะต้องอธิบายไว้ในแบบฟอร์ม Vertebrate Animal Form (5A) และข้อเสนอโครงการ
- ไม่อนุญาตให้ทำการการุณยฆาต เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อและ/หรือการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา สำหรับโครงการที่ดำเนินการที่โรงเรียน/บ้าน/พื้นที่ภาคสนาม ปศุสัตว์หรือปลาที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารโดยใช้แนวทางการผลิตทางการเกษตร/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้มาตรฐาน อาจถูกการุณยฆาตโดยมีผู้ควบคุมดูแลอย่างเหมาะสมสำหรับการประเมินซากสัตว์
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- แบบฟอร์มขออนุมัติวิจัยในสัตว์ (Animal Research Approval Form)
- Vertebrate Animal Form (5A) (ที่ดำเนินการที่โรงเรียน/บ้าน/ภาคสนาม)
- Qualified Scientist Form (2) – เมื่อต้องการ
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีการทดลองกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม
- คณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถาบัน (The Institutional Animal Care and Use Committee, IACUC) หรือคณะกรรมการกำกับดูแลสัตว์ที่เทียบเคียงได้ จะต้องอนุมัติโครงการก่อนที่จะเริ่มการทดลอง โครงการจะต้องดำเนินการภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ศึกษา โดย SRC จะตรวจสอบโครงการเพื่อรับรองว่าโครงการนั้นสอดคล้องกับระเบียบ
- ห้ามทำการการุณยฆาต อนุญาตให้ทำการการุณยฆาตเมื่อสิ้นสุดการทดลอง เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อและ/หรือการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา วิธีการการุณยฆาตทั้งหมดต้องเป็นไปตามแนวทางของ American Veterinarian Medical Association (AVMA) ในปัจจุบัน
- ห้ามการศึกษาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานมากกว่าชั่วขณะหรือเล็กน้อยต่อสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งไม่ได้รับการบรรเทาด้วยยาชา ยาระงับปวด และ/หรือยากล่อมประสาท
- การวิจัยเกี่ยวกับการขาดสารอาหาร หรือการวิจัยเกี่ยวกับสารหรือยาที่ไม่ทราบผลกระทบ จะได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาจนถึงจุดที่มีอาการทางคลินิกที่บ่งบอกได้ถึงความทุกข์/ทรมานของสัตว์ ในกรณีที่พบความทุกข์/ทรมานจะต้องระงับโครงการและต้องมีมาตรการแก้ไขความบกพร่องหรือฤทธิ์ยา โครงการสามารถดำเนินการต่อได้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุ
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- แบบฟอร์มขออนุมัติวิจัยในสัตว์ (Animal Research Approval Form)
- Vertebrate Animal Form (5B) (สำหรับดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม)
- Qualified Scientist Form (2)
- PHBA Risk Assessment Form (6A) – สำหรับการศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย
- Human and Vertebrate Animal Tissue Form (6B) – สำหรับการศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย
อย่างไรก็ตามโครงการบางลักษณะอาจได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อนการทดลอง)
โครงการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังแต่ได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวข้องกับการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ โดย
- ไม่มีการโต้ตอบกับสัตว์ที่กำลังสังเกต
- ไม่มีการดัดแปลงสิ่งแวดล้อมของสัตว์แต่อย่างใด และ
- การศึกษานี้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับ
3. โครงการที่เกี่ยวข้องกับสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย (PHBA)
สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับสารชีวภาพอาจเป็นอันตราย หรือ Potentially Hazardous Biological Agents (PHBA) จะใช้กับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ เทคโนโลยีดีเอ็นเอลูกผสม และเนื้อเยื่อสด/แช่แข็งของมนุษย์หรือสัตว์ เลือดหรือของเหลวในร่างกาย โดยโครงการที่ต้องใช้หลัก Biosafety Level BSL-1 จะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ BSL-1 หรือสูงกว่า และสำหรับโครงการที่ต้องใช้หลัก Biosafety Level BSL-2 จะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ BSL-2 หรือสูงกว่า โดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญ
สามารถศึกษาการจำแนกประเภทของสารชีวภาพตาม Biosafety Level (ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ) ได้จากหัวข้อ “การจัดระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosatety Level, BSL)” ที่ิอยู่ในภาคผนวกท้ายเล่ม และศึกษาหัวข้อ “แนวทางการประเมินความเสี่ยงของสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย (PHBA)” ที่ิอยู่ในภาคผนวกท้ายเล่ม
โครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจาก ประธาน Scientific Review Committee (SRC) ระดับภูมิภาค (หัวหน้าศูนย์ประสานงานภูมิภาค) ก่อนเริ่มลงมือทำการทดลอง โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์โครงการ YSC (https://www.nstda.or.th/ysc) และระบบ SIMS (https://www.nstda.or.th/sims)
- โครงการที่มีการศึกษาจุลินทรีย์ที่อาจเป็นอันตราย (รวมถึงแบคทีเรีย ไวรัส ไวรอยด์ (viroid) พรีออน (prion) เชื้อริกเก็ตเซีย (rickettsia) เชื้อรา และปรสิต)
- การศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้พรีออน จะต้องดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุมภายใต้การกำกับดูแลของนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ
- เชื้อโรคพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติสามารถศึกษาได้ (ไม่ใช่การเพาะเลี้ยง) ที่อยู่ที่บ้าน แต่ห้ามนำเข้าสู่สภาพแวดล้อมในบ้าน/สวน
- โครงการที่มีการรวบรวมหรือคัดเลือกสิ่งมีชีวิตจากสภาพแวดล้อมใด ๆ
- การศึกษาที่มีการคัดเลือกและเพาะเลี้ยงย่อยสิ่งมีชีวิตที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ การศึกษาโดยใช้สิ่งมีชีวิตดังกล่าว รวมถึงสิ่งมีชีวิต BSL-1 ที่อาจได้รับการยกเว้นจากการอนุมัติ SRC จำเป็นต้องมีปฏิบัติโดย BSL-2 เป็นอย่างน้อย
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับดีเอ็นเอลูกผสม (Recombinant DNA, rDNA)
- โครงการที่มีการใช้เนื้อเยื่อสด/แช่แข็งของของมนุษย์หรือสัตว์ รวมถึงเลือดหรือของเหลวในร่างกาย
- โครงการที่มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย
- การศึกษาในห้องปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตที่ดื้อต่อยาหลายขนานที่มีนัยสำคัญทางคลินิก (Multidrug Resistant Organisms, MDROs) จะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยที่มีการควบคุมโดยใช้ BSL-2 เป็นอย่างต่ำ และต้องมีการทบทวนและอนุมัติ
ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จัก เช่น MRSA (เชื้อ Staphylococcus Aureus ที่ดื้อต่อยา Methicillin), VISA/VRSA (เชื้อ Staphylococcus Aureus ที่ดื้อยา Vancomycin), VRE (เชื้อ Enterococci ที่ดื้อต่อ Vancomycin), CRE (เชื้อ Enterobacteriacae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem) ESBLs (Extended Spectrum Beta-Lactamase ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตแกรมลบ) และเชื้อรา (ยีสต์หรือรา) ที่มีความต้านทานต่อสารต้านเชื้อรา
- การเพาะเลี้ยงของเสียจากมนุษย์หรือสัตว์ รวมทั้งกากตะกอนน้ำเสียถือเป็นการศึกษา Biosafety Level BSL-2
หมายเหตุ:
- สารชีวภาพที่อาจเป็นอันตรายทั้งหมด ต้องได้รับการกำจัดอย่างเหมาะสมเมื่อสิ้นสุดการทดลองตามระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ ทั้งในสิ่งมีชีวิต BSL-1 และ BSL-2: นึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ใช้สารละลายฟอกขาว 10% (เจือจางสารฟอกขาวในครัวเรือน 1:10) เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที การเผา การไฮโดรไลซิสด้วยด่าง การรับความปลอดภัยทางชีวภาพ และคำแนะนำอื่น ๆ ของผู้ผลิตที่เป็นที่ยอมรับ
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- Qualified Scientist Form (2) – เมื่อต้องการ
- Risk Assessment Form (3) – เมื่อต้องการ
- PHBA Risk Assessment Form (6A) – เมื่อต้องการ
- Human and Vertebrate Animal Tissue Form (6B) – สำหรับการศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่ไม่รู้จัก
การศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่ไม่รู้จักเป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจากไม่ทราบการมีอยู่ ความเข้มข้น และความสามารถในการก่อโรคของสารที่เป็นไปได้ การศึกษาเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม (เช่น ดิน พื้นผิวในครัวเรือน ผิวหนัง)
- การศึกษากับจุลินทรีย์ที่ไม่รู้จักสามารถถือเป็นการศึกษา BSL-1 ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
- เพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในจานเพาะเชื้อพลาสติก (หรือภาชนะมาตรฐานที่ไม่แตก) และปิดผนึก
- การทดลองเกี่ยวข้องเฉพาะขั้นตอนที่จานเพาะเชื้อยังคงถูกปิดผนึกไว้ตลอดการทดลอง (เช่น การตรวจนับการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต)
- จานเพาะเชื้อที่ปิดสนิทจะถูกกำจัดโดยการนึ่งฆ่าเชื้อหรือการฆ่าเชื้อภายใต้การกับดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
- หากเปิดภาชนะเพาะเชื้อที่มีจุลินทรีย์ที่ไม่รู้จักเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ (ยกเว้น การฆ่าเชื้อเพื่อการกำจัด) ถือว่าเป็นการศึกษา BSL-2 และต้องมีข้อควรระวังในห้องปฏิบัติการ BSL-2
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดีเอ็นเอลูกผสม (Recombinant DNA, rDNA)
การศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี rDNA ในจุลชีพ พืช และ/หรือสัตว์ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม จำเป็นต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินการกำหนดระดับความเสี่ยง การศึกษาดีเอ็นเอลูกผสม บางอย่างสามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของโรงเรียนมัธยมศึกษา (ภายใต้ BSL-1) โดยต้องมีการตรวจสอบโดย SRC ก่อนเริ่มการทดลอง
- การศึกษาเทคโนโลยีดีเอ็นเอลูกผสม ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต BSL-1 และระบบพาหะเซลล์เจ้าบ้าน (host vector system) ที่เป็น BSL-1 จะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ BSL-1 ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญ และต้องได้รับการอนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง ตัวอย่างเช่น การโคลน DNA ในระบบ coli K-12, S. cerevesiae และ B. subtilis พาหะเซลล์เจ้าบ้าน
- การศึกษาเทคโนโลยีดีเอ็นเอลูกผสม โดยใช้สาร BSL-1 ที่อาจเปลี่ยนเป็นสาร BSL-2 ในระหว่างการทดลอง ต้องดำเนินการทั้งหมดภายใต้ BSL-2 ที่มีผู้เชี่ยวชาญดูแล และต้องได้รับการอนุมัติก่อนเริ่มการทดลอง
- การศึกษาเทคโนโลยีดีเอ็นเอลูกผสม ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต BSL-2 และ/หรือระบบพาหะเซลล์เจ้าบ้าน BSL-2 จะต้องดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม และได้รับอนุมัติก่อนการทดลอง
- ห้ามเพิ่มดีเอ็นเอลูกผสมสำหรับมนุษย์ พืช หรือสัตว์ (รวมถึงไวรัส) ที่เป็นชีวพิษ
- การศึกษาเกี่ยวกับการปรับแต่งจีโนมทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สืบพันธุ์ การแทรกยีนไดรฟ์ (Gene drive) การใช้ระบบพัฒนาคุณลักษณะอย่างรวดเร็ว (Rapid Trait Development Systems, RTDS®) ฯลฯ จัดเป็นการศึกษา BSL-2 และต้องดำเนินการภายใต้สถาบันการวิจัยที่มีการควบคุม และต้องได้รับการอนุมัติ โดยมีนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมดูแล เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการดำเนินการระบุถึงข้อควรระวังอย่างเหมาะสม
- ห้ามนำเข้าหรือกำจัดสปีชีส์ที่ไม่มีถิ่นกำเนิด ดัดแปลงพันธุกรรม และ/หรือรุกราน (เช่น แมลงหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ พืช สัตว์มีกระดูกสันหลัง) เชื้อโรค สารเคมีที่เป็นพิษหรือสารแปลกปลอมสู่สิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย รวมถึงเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด
การศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อสด/แช่แข็ง เลือดหรือของเหลวในร่างกายที่ได้จากมนุษย์และ/หรือสัตว์มีกระดูกสันหลัง อาจปรากฏจุลินทรีย์ที่อาจมีศักยภาพในการก่อให้เกิดโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม
- การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเซลล์ไลน์ (cell line) และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมนุษย์และ/หรือสิ่งมีชีวิตในอันดับไพรเมต (primate) (เช่น ที่ได้จาก American Type Culture Collection) จะต้องพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตระดับ BSL-1 หรือ BSL-2 ตามที่ระบุโดยแหล่งข้อมูล ดังนั้น ต้องระบุแหล่งที่มาและ/หรือหมายเลขรายการในข้อเสนอโครงการ
- หากได้รับเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่ถูกทำตายอย่างสงบ (Euthanasia) หรือปราศจากความเจ็บปวด เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากการศึกษา อาจถือว่าเป็นการศึกษาเนื้อเยื่อ
- การใช้เนื้อเยื่อที่ได้จากการวิจัยในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม จำเป็นต้องมีเอกสารการอนุมัติสำหรับการศึกษาในสัตว์ต้นแบบ
- การใช้เนื้อเยื่อที่ได้จากการศึกษาด้านการเกษตร/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องได้รับการอนุมัติจาก SRC ก่อน
- หากสัตว์ถูกการุณยฆาตเพียงเพื่อการศึกษา การศึกษาจะต้องถูกพิจารณาว่าเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง และอยู่ภายใต้กฎของสัตว์มีกระดูกสันหลังสำหรับการศึกษาที่ดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม
- การเก็บและตรวจเนื้อเยื่อสด/แช่แข็ง และ/หรือของเหลวในร่างกาย (ดูข้อ 7 สำหรับข้อจำกัดเพิ่มเติมสำหรับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือด) จากแหล่งที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีจุลินทรีย์อยู่ ต้องพิจารณาความปลอดภัยทางชีวภาพ BSL- 1 และต้องดำเนินการศึกษาในห้องปฏิบัติการ BSL-1 หรือสูงกว่า และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญ
- การเก็บและตรวจสอบเนื้อเยื่อหรือของเหลวในร่างกายสด/แช่แข็ง หรือเนื้อสัตว์ ผลพลอยได้จากเนื้อสัตว์ นมหรือไข่พาสเจอร์ไรซ์ที่ไม่ได้มาจากร้านขายอาหาร ภัตตาคาร หรือโรงบรรจุ อาจมีจุลินทรีย์อยู่ เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสารที่อาจเป็นอันตรายที่ไม่รู้จัก การศึกษาเหล่านี้จึงต้องพิจารณาว่าเป็นการศึกษาความปลอดภัยทางชีวภาพ BSL-2 ที่ต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ BSL-2 ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญ
- น้ำนมแม่ที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิด เว้นแต่จะได้รับการรับรองว่าไม่มีเชื้อ HIV และไวรัสตับอักเสบซี และนมจากสัตว์ในประเทศที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ จะถือว่าเป็นการศึกษา BSL-2
- การศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือดของมนุษย์หรือสัตว์ ควรได้รับการพิจารณาในการศึกษาความปลอดภัยทางชีวภาพ BSL-2 เป็นอย่างน้อย และต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ BSL-2 ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญ ห้ามใช้เลือดที่มาจาก BSL-3 หรือ BSL-4 การศึกษาเกี่ยวกับเลือดสัตว์เลี้ยงอาจถือเป็นการศึกษาระดับ BSL-1 เลือดทั้งหมดต้องได้รับการจัดการตามมาตรฐานและแนวทางที่กำหนดไว้ใน OSHA, 29CFR, Subpart Z เนื้อเยื่อหรือเครื่องมือใด ๆ ที่มีศักยภาพในการมีเชื้อโรคที่มากับเลือด (เช่น เลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด เนื้อเยื่อที่ปล่อยเลือดเมื่อบีบอัด เลือด เครื่องมือที่ปนเปื้อน) ต้องกำจัดอย่างเหมาะสมหลังการทดลอง
- การศึกษาของเหลวในร่างกายมนุษย์ ซึ่งสามารถระบุตัวอย่างกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ จะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจาก IRB และต้องได้รับการยินยอมจากบุคคล
- ห้ามทำการศึกษาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและตรวจของเหลวในร่างกายซึ่งอาจมีสารชีวภาพที่เป็นของ BSL-3 หรือ BSL-4
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยใช้ของเหลวในร่างกายของผู้ศึกษาเอง (หากไม่ได้เพาะเลี้ยง)
- ถือได้ว่าเป็นการศึกษา BSL-1
- อาจดำเนินการที่บ้านได้
- ต้องได้รับการพิจารณาจาก IRB หากของเหลวในร่างกายทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดผลกระทบของขั้นตอนการทดลองต่อการศึกษา (เช่น ผู้ศึกษาควบคุมอาหารและเก็บตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะ) ตัวอย่างของโครงการที่ไม่ต้องการการตรวจสอบจาก IRB คือ การเก็บปัสสาวะเพื่อใช้เป็นยาไล่กวาง
- ต้องได้รับการทบทวนและอนุมัติจาก SRC ก่อนทำการทดลอง
- การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมนุษย์ จะต้องดำเนินการในสถาบันวิจัยที่ขึ้นทะเบียนและตรวจสอบและรับรองโดยคณะกรรมการกำกับดูแลการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (Embryonic Stem Cell Research Oversight, ESCRO)
อย่างไรก็ตามโครงการบางลักษณะอาจได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติก่อนการทดลอง)
โครงการที่ได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง) แต่ต้องกรอกแบบฟอร์ม Risk Assessment Form (3)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา (Protista) และสิ่งมีชีวิตในกลุ่มอาร์เคีย (Archaea)
- โครงการที่ใช้มูลสัตว์ในการทำปุ๋ยหมัก การผลิตเชื้อเพลิง หรือการทดลองอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเพาะเลี้ยง
- โครงการที่ใช้ชุดทดสอบแบคทีเรียโคลิฟอร์มเปลี่ยนสีที่มีจำหน่ายทั่วไป ชุดทดสอบเหล่านี้ต้องปิดสนิทและต้องกำจัดอย่างเหมาะสม
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง (เช่น ในโครงการนิติวิทยาศาสตร์)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับกับเซลล์เชื้อเพลิงของจุลินทรีย์
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ ซึ่งอุปกรณ์ถูกปิดผนึกระหว่างการทดลองและกำจัดอย่างเหมาะสมเมื่อสิ้นสุดการศึกษา
โครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต BSL-1 ที่ได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการหมักยีสต์ขนมปังและยีสต์ของผู้ผลิตเบียร์ ยกเว้นในการศึกษาดีเอ็นเอลูกผสม
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวข้องกับ Lactobacillus, Bacillus thuringiensis, แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจน, แบคทีเรียที่กินน้ำมัน และแบคทีเรียที่กินตะไคร่น้ำ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (ไม่ได้รับการยกเว้นหากเลี้ยงในจานเพาะเชื้อ)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในน้ำหรือดินที่ไม่เข้มข้นในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
- โครงการที่มีการศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อราในอาหาร หากยุติการทดลองเมื่อปรากฏเชื้อราครั้งแรก
- โครงการที่มีการศึกษาราเมือกและเห็ด ที่กินได้
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับ coli k-12 (และสายพันธุ์อื่น ๆ ของ E. coli ที่ถูกใช้เป็นอาหารของ C. elegans) ซึ่งดำเนินการที่โรงเรียน และไม่ใช่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ
โครงการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อ ที่ได้รับการยกเว้น (ทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อพืช (ยกเว้น ส่วนที่ทราบว่ามีพิษหรือเป็นอันตราย)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ไลน์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สร้างจากพืชและไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในอันดับไพรเมต (primate) ซึ่งได้มาจาก stock (ใช้ในห้องปฏิบัติการอยู่แล้ว) ทั้งนี้ต้องระบุแหล่งที่มาและ/หรือหมายเลขรายการในข้อเสนอโครงการ
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย/เลือดของมนุษย์ (เช่น จากนิ้วมือ) ของผู้ศึกษา ยกเว้น การเจาะเลือดจากผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์ที่ต้องได้รับการอนุมัติก่อนการทดลอง (ทั้งนี้ โปรดศึกษา “ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย รวมถึงเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด” ข้อ 10)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเนื้อสดหรือแช่แข็ง ผลพลอยได้จากเนื้อสัตว์ นมหรือไข่พาสเจอร์ไรส์ที่ได้จากร้านขายอาหาร ภัตตาคาร หรือโรงงานบรรจุ
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับผม กีบ เล็บ และขนนก (feather)
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับฟันที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อฟอสซิลหรือตัวอย่างทางโบราณคดี
- โครงการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมเนื้อเยื่อคงที่
4. โครงการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กิจกรรม และอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตราย
สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กิจกรรม และอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายที่มีการควบคุมโดยกฏหมาย โดยส่วนใหญ่มักมีข้อจำกัดในการใช้งานโดยผู้เยาว์ เช่น สารที่ควบคุมโดย DEA (Drug Enforcement Administration ของสหรัฐอเมริกา) ยาตามใบสั่งของแพทย์ แอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และวัตถุระเบิด รวมถึงกิจกรรมที่เป็นอันตราย คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงที่สูงกว่าและเกินกว่าที่พบในชีวิตประจำวันของนักเรียน
โครงการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องได้รับการอนุมัติจาก ประธาน Scientific Review Committee (SRC) ระดับภูมิภาค (หัวหน้าศูนย์ประสานงานภูมิภาค) ก่อนเริ่มลงมือทำการทดลอง โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์โครงการ YSC (https://www.nstda.or.th/ysc) และระบบ SIMS (https://www.nstda.or.th/sims)
- โครงการที่มีการใช้สารควบคุมโดยเฉพาะ
- โครงการที่มีการใช้ยาตามใบสั่งของแพทย์
- โครงการที่มีการศึกษากับวัตถุระเบิดและดินปืน
- โครงการที่มีการใช้สารกัมมันตรังสีและไอโซโทปรังสี
- โครงการที่มีการใช้หรือศึกษาสารเคมี อุปกรณ์ หรือกิจกรรมทั้งหมด ที่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กิจกรรม และอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตราย
- ผู้ศึกษาต้องทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือนักวิทยาศาสตร์ก่อนทำการทดลอง การประเมินความเสี่ยงนี้ควรอธิบายไว้ในข้อเสนอโครงการ เพื่อรวมกระบวนการประเมินความเสี่ยง การกำกับดูแล ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย และวิธีการกำจัดที่เหมาะสม การประเมินความเสี่ยงสามารถทำได้โดยการกรอกแบบฟอร์ม Risk Assessment Form (3)
- การใช้สารเคมีอันตราย อุปกรณ์ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นอันตราย จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยตรงจากนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ยกเว้นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับสารที่ควบคุมโดย DEA (Drug Enforcement Administration ของสหรัฐอเมริกา) ซึ่งต้องมีการควบคุมดูแลโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
- ผู้ศึกษาจะต้องใช้สารเคมีที่มีการควบคุมตามกฎหมายที่กำหนด
- สำหรับสารเคมี อุปกรณ์ หรือกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ผู้ศึกษาจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนที่จะเริ่มการทดลอง ต้องมีสำเนาใบอนุญาตให้ตรวจสอบแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและ SRC
- สำหรับสารเคมีที่เป็นอันตราย โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่หัวข้อ “แนวทางการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีที่อาจเป็นอันตราย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม
- อุปกรณ์บางอย่างที่ใช้กันทั่วไป (เตาเผา Bunsen เตา hot plate เลื่อย สว่าน ฯลฯ) อาจไม่ต้องการการประเมินความเสี่ยง โดยถือว่าผู้ศึกษามีประสบการณ์ในการทำงานกับอุปกรณ์ดังกล่าว
- การใช้อุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์สุญญากาศสูง อ่างน้ำมันอุ่น อุปกรณ์ NMR (Nuclear Magnetic Resonance) และเตาอบอุณหภูมิสูง ต้องมีการกรอกเอกสาร Risk Assessment Form (3)
- ผู้ศึกษาต้องลดผลกระทบของการทดลองต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง ได้แก่ การใช้สารเคมีในปริมาณน้อยที่สุดซึ่งจะต้องมีการกำจัดในภายหลัง ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการกำจัดทั้งหมดทำในลักษณะที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการ
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- Risk Assessment Form (3)
- Qualified Scientist Form (2)
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับสารควบคุมโดยเฉพาะ
สำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งสหรัฐอเมริกา (DEA) มีการควบคุมสารเคมีที่สามารถเปลี่ยนจากการใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อผลิตยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย สำหรับประเทศไทยนั่นมีกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา ที่กำกับดูแล ดังนั้น นอกเหนือจากรายชื่อสารควบคุมโดย DEA แล้ว ต้องพิจารณาถึงวัตถุเสพติดและสารตั้งต้นโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด อีกด้วย
- การศึกษาที่ใช้สารควบคุม DEA หรือสารตั้งต้นโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องดำเนินการในสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม ซึ่งได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการใช้สารควบคุมหรือสารตั้งต้น
- การศึกษาที่ใช้สารควบคุม DEA ที่เป็น Schedule I (รวมถึงกัญชา) เป็นสิ่งต้องห้าม สำหรับสารที่เป็น Schedule II, III, IV และ V สามารถใช้งานได้
- โปรดศึกษารายการสารที่ควบคุมที่ https://www.deadiversion.usdoj.gov/schedules/ ที่ Lists of Scheduling Actions, Controlled Substances, Regulated Chemicals (PDF) โดยดูที่คอลัมน์ CSA SCHEDULE หรือ CSA SCH
- การศึกษาที่ใช้วัตถุเสพติด (ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารระเหย) เป็นสิ่งต้องห้าม สำหรับสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตวัตถุเสพติด อาจใช้งานได้
- โปรดศึกษารายการที่ https://narcotic.fda.moph.go.th/information-about-drugs
หมายเหตุ: สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารควบคุม DEA” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับยาตามใบสั่งแพทย์
ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ควบคุมการออกใบสั่งยาอย่างเข้มงวด ดังนั้นจึงเป็นสารควบคุม และเป็นการผิดกฎหมายสำหรับบุคคลใดก็ตามที่จงใจครอบครองสารควบคุม เว้นแต่จะได้รับโดยตรงจากใบสั่งยาที่ถูกต้องหรือคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ การใช้ใบสั่งยาสำหรับบุคคลหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือจากใบสั่งยาดั้งเดิมก็ผิดกฎหมายเช่นกัน
- ห้ามผู้ศึกษาใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ในการศึกษา นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพหรือนักวิจัยที่ได้รับสารควบคุมโดยได้รับการอนุมัติอย่างเหมาะสม และกำลังใช้สารตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- การศึกษาดังกล่าวจะต้องดำเนินการกับนักวิทยาศาสตร์และต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้วย เอกสารที่จำเป็น คือ แบบฟอร์ม Qualified Scientist Form (2) และ Risk Assessment Form (3)
- ห้ามผู้ศึกษาให้ยาตามใบสั่งแพทย์แก่ผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์
- ในกรณีของยาตามใบสั่งแพทย์ที่จ่ายให้กับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ให้กระทำได้ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ และต้องมีใบสั่งยาตามวัตถุประสงค์เฉพาะเท่านั้น
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับแอลกอฮอล์และใบยาสูบ
- อนุญาตให้มีการศึกษาการหมักที่ผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย
- อาจารย์ที่ปรึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการได้มา การใช้ และการกำจัดที่เหมาะสมของแอลกอฮอล์หรือยาสูบที่ใช้ในการศึกษา
- ห้ามทำการทดลองที่ก่อให้เกิดการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม โครงการที่มีการกลั่นแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่สามารถบริโภคได้ จะต้องทำภายในโรงเรียน หรือสถาบันวิจัยที่มีการควบคุม
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับอาวุธปืนและวัตถุระเบิด
การซื้อและการใช้อาวุธปืนและวัตถุระเบิดมีการควบคุมและเป็นไปตามกฏหมาย ปืน หมายถึง อาวุธปืนขนาดเล็กที่มีกระสุนปืนทำมาจากดินปืน สำหรับวัตถุระเบิด คือ สารเคมี ของผสม หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดการระเบิด วัตถุระเบิด (รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง) ไดนาไมต์ ผงสีดำ ผงอัดเม็ด ตัวจุดระเบิด และตัวจุดไฟ
การซื้อปืนโดยผู้เยาว์ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การใช้อาวุธปืนโดยไม่มีการรับรองจากรัฐถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่นกัน
- โครงการที่มีการศึกษากับวัตถุระเบิด และดินปืน จะได้รับอนุญาตเมื่อดำเนินการภายใต้การดูแลควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อเป็นไปตามกฎหมาย
- Potato guns และ Paintball guns ไม่ใช่อาวุธปืน เว้นแต่จะมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นอาวุธ อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าเป็นอุปกรณ์อันตราย
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน
สำหรับการใช้โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ โดยผู้พัฒนาเป็นผู้ควบคุมและบังคับการบินด้วยตนเอง (อายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์) ถือเป็นเรื่องผิดกฏหมายในประเทศไทย อย่างไรก็ตามโครงการที่ใช้โดรน อาจได้รับการยกเว้น หาก
- การบังคับโดรนที่ควบคุมโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และ
- อาจต้องมีการลงทะเบียนโดรนและนักบินโดรน (หากจำเป็น) และการใช้งานต้องเป็นไปตามกฏหมายที่กำหนด
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการฉายรังสี
โครงการที่เกี่ยวข้องกับการฉายไอโซโทปรังสี (Radioisotopes) รังสีเอกซ์ รวมถึงโครงการที่มีการฉายรังสีที่ไม่เกิดไอออน (Non-ionizing radiation) ได้แก่ สเปกตรัมของรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) แสงที่มองเห็นได้ อินฟราเรด (Infrared, IR) ไมโครเวฟ (Microwave, NW) คลื่นวิทยุ (Radiofrequency, RF) และคลื่นที่มีความถี่ต่ำมาก (Extremely Low Frequency, ELF) ต้องมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และต้องมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสม รังสีที่ปล่อยออกมาจากแหล่งเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของการสัมผัส
- การศึกษาทั้งหมดต้องไม่เกินขีดจำกัดปริมาณที่กำหนด นั่นคือ 0.5 mrem/ชั่วโมง หรือ 100 mrem/ปี ของการสัมผัส
- หากแรงดันไฟฟ้าที่จำเป็นในการศึกษา คือ <10 kvolts จะต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยง การศึกษาอาจทำที่บ้านหรือที่โรงเรียน และไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติล่วงหน้าจาก SRC
- การศึกษาที่ใช้ไฟ 10-25 kvolts จะต้องมีการประเมินความเสี่ยง และต้องได้รับการอนุมัติจาก SRC ก่อนการทดลอง เพื่อประเมินความปลอดภัย การศึกษาดังกล่าวต้องดำเนินการในกล่องโลหะโดยใช้กล้องเท่านั้น ไม่ใช่การมองผ่านกระจกโดยตรง ต้องใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีหรือเครื่องวัดรังสีเพื่อวัดปริมาณรังสี
- การศึกษาทั้งหมดที่ใช้ไฟมากกว่า 25 กิโลโวลต์ จะต้องดำเนินการในห้องภายใต้สถาบันที่มีใบอนุญาตควบคุมการฉายรังสี และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ และต้องเป็นไปตามกฎระเบียบหรือกฏหมายที่กำหนด
หมายเหตุ:
- จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม ต่อไปนี้:
- Risk Assessment Form (3) – เมื่อโครงงานของนักเรียนเกี่ยวข้องกับรังสีที่เกินกว่าปกติในชีวิตประจำวัน
- Qualified Scientist Form (2)